29 July 2019 – ใน FIN มี feature หนึ่งครับ เอาไว้สำหรับ Copy Transactions (รายการซื้อขาย) จากกองหนึ่ง ไปสู่อีกกองหนึ่ง โดยมีกรณีการใช้งานที่เฉพาะกิจเท่านั้นครับ จะไม่ได้เอาไว้ใช้สำหรับกรณีปกติทั่วไป วันนี้ใน blog นี้เลยจะมาเล่าถึงวัตถุประสงค์ และ วิธีการใช้ความสามารถนี้
Feature Copy Transactions นี้ไว้ใช้ตอนไหน ?
- ใช้กรณีเดียวครับ คือตอนที่ กองทุนนั้นๆ มีการเปลี่ยนชื่อ เช่นจากชื่อ A ไปชื่อ B หรือยกตัวอย่างของจริงคือ กองทุนชื่อเก่าชื่อ: TBGF8020 ชื่อใหม่: TW-E20
- ระบบใน FIN ไม่ได้รองรับการเปลี่ยนชื่อกองทุนเหล่านี้ให้แก่ท่านผู้ใช้โดยอัตโนมัติครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า ผมไม่ต้องการสร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้ฮะ ที่ว่า เมื่อเปิดดู portfolio แล้ว พบกองชื่อใหม่ โดยที่ตนเองไม่รู้ หรือ ไม่แน่ใจว่า มาจากไหนหว่า
- ทีนี้ เพื่อให้ผู้ใช้ ที่ต้องการ ปรับเปลี่ยนชื่อกองทุนใหม่ ผมเลยมี feature Copy Transactions ตรงนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้ ทำการ Copy รายการซื้อขายต่างๆ จากกองเก่า ไปสู่กองใหม่ ด้วยตนเอง นั่นเอง
วิธีการใช้งาน feature นี้ ?
Step-1: เปิดเข้า FIN ไปที่หน้า Portfolio จากนั้นเลือกกองทุน ที่ต้องการให้เป็นกองทุนต้นทาง (Source) แล้วกดเข้าไปในหน้า Transaction Detail ของกองนั้นๆ ยกตัวอย่างภาพด้านล่าง คือ หน้า Transaction Detail ของกอง TCMFENJOY (เป็นตัวอย่างเฉยๆ นะครับ กองนี้ไม่ได้มีการเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด)

Step-2: ที่หน้านี้เอง ปุ่มข้างบนสุดด้านซ้ายปุ่มที่ 2 (ปุ่มที่เป็นรูป เอกสาร 2 ชุดซ้อนกัน) นั่นคือปุ่มสำหรับเรียก feature นี้ขึ้นมาให้ทำงานครับ กดได้เลยฮะ จะได้ภาพหน้าจอตามรูปด้านล่างนี้

Step-3: ใส่ชื่อกองทุนใหม่ (ชื่อที่กองทุนนั้นเปลี่ยนชื่อ) เข้าไปครับ จากนั้นกดปุ่ม Done ณ จุดการใส่ชื่อกองใหม่ตรงนี้จะขึ้นกับระบบใน FIN ด้วยนะครับว่ารองรับชื่อกองทุนใหม่เหล่านั้นแล้วหรือยัง เมื่อกดปุ่ม Done จะขึ้น prompt ถามอีกครั้ง ตามรูปด้านล่างนี้

Step-4: การขึ้นถามแบบนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า กองปลายทางนั้น ยังไม่มีอยู่ใน portfolio นะครับ เพราะถ้าหากมี กองปลายทาง (หรือกองชื่อใหม่) อยู่ใน portfolio อยู่แล้ว ไม่ว่าจะมาจากไหนก็ตาม เมื่อกด Confirm ในหน้านี้ไปแล้ว รายการใดๆ ของกองปลายทางนั้นที่มีอยู่ ณ เวลาก่อนที่จะกด Confirm จะโดนลบทิ้งทั้งหมดนะครับ เพื่อทำการ Copy จากกองต้นทาง นี้เข้าไปใหม่ เป็นการเขียนทับโดยสมบูรณ์นะครับผม
เมื่อกด Confirm แล้วรอสักครู่ครับ ก็จะจบงานฮะ จากนั้นกลับไปที่หน้า Portfolio ก็จะเห็น ทั้ง กองเก่า และ กองใหม่นะครับ เมื่อท่านผู้ใช้ตรวจสอบ ยอดเงิน หรือ จำนวนหน่วยต่างๆ ได้เป๊ะ ครบถ้วนแล้ว ก็ค่อยลบกองเก่า ออกจาก portfolio ได้ครับผม (วิธีการลบกองออกจาก portfolio ให้ใช้นิ้วตวัดไปทางซ้าย หรือจะเรียกว่า swipe-left บนแถวของกองที่ต้องการลบนะครับ จะขึ้นเมนู เพื่อให้ Delete และถาม Confirm อีกครั้ง)
Feature นี้ก็จะทำงานประมาณนี้นะครับโดยมีกรณีการใช้งานที่จำกัดครับ โดยส่วนใหญ่เอาไว้ใช้ Copy Transactions จากกองทุนที่มีการเปลี่ยนชื่อ ไปเป็นชื่อใหม่ ซึ่งระบบใน FIN จะไม่มีการเปลี่ยนชื่อให้อัตโนมัติด้วยเหตุผลที่อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นท่านผู้ใช้สามารถใช้ความสามารถนี้จัดการเรื่องนี้ได้ด้วยตนเองทันที
ลองดูครับผม หากมีคำถามอื่นใด เขียนมาในหน้า Feedback ใน FIN ได้เลยนะฮะ 🙂