เกี่ยวกับความสามารถใหม่ FIN Asset Planning

19 April 2021 — FIN Version 3.61 ล่าสุดที่กำลังจะขึ้น Apple App Store ในอีกไม่กี่วันจากนี้ มีความสามารถใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนใน FIN นั่นคือ Asset Planning โดย Feature ใหม่นี้ ทำอะไรได้บ้างนั้น ติดตามอ่านได้จากเนื้อหาของบทความนี้นะครับ 🙂

วัตถุประสงค์ของ Asset Planning คือ มีไว้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเห็นภาพรวม Total Asset ของตนเอง ได้ในมุมมองต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการจะมองเห็นครับ นั่นหมายความว่า คุณผู้ใช้สามารถแบ่งกลุ่ม Asset ต่างๆ ของตนเองในมุมมองที่ต้องการผ่าน FIN ได้ และ FIN Asset Planning จะคำนวณ และ plot chart ต่างๆ ออกมา ตามกลุ่มของ Asset ที่ผู้ใช้เป็นคนแบ่งด้วยตนเอง ซึ่งทำได้หลากหลายความต้องการ และ มุมมอง กำหนดได้ตนเอง แบบอิสระครับ

ยกตัวอย่างด้วยภาพ screenshot ด้านล่างนี้ครับ เป็นการสร้างมุมมองโดยแบ่ง Segment ของ Asset ต่างๆ ของเราเอง ให้เป็นไปตาม ประเภทของ Asset ที่เรากำหนดขึ้นมาเอง จะเห็นว่า ผมลองกำหนดให้แบ่งเป็น Tech, Healthcare, Property และ ยังมีแบ่งเป็น Crypto Token หรือ Cash ก็ได้ด้วยเช่นกัน

ภาพรวมของ Total Asset ในมุมมองของแบ่งตามประเภทของ Asset

หรือ หากต้องการ zoom เจาะลึกเข้าไปว่าภายใน Segment นั้นๆ มี Asset ใดบ้าง ก็ใช้นิ้วแตะเข้าไปในแต่ละ Segment ที่อยู่ในตารางครับ จะเห็น ภาพตาม screenshot ด้านล่างนี้

ภาพ zoom เจาะเข้าไปใน Segment “Tech” ว่าประกอบไปด้วย Asset ใดบ้าง

จากภาพด้านบนเป็นมุมมองการ zoom เข้าไปดู Segment “Tech” นั่นเอง ซึ่ง ผลรวมของ Tech นั้นคิดเป็น 35.97% ของทั้งหมด โดยภายในนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 Assets ย่อย นั่นคือ B-INNOTECHRMF ที่ 19.17% และ K-USXNDQ-A(D) ที่ 16.80%

ถ้าเราดูที่ Chart อย่างเดียว เราก็จะเห็นทั้ง 2 มิติครับ

มิติแรกคือ ที่ระดับของ Segment (สีเขียวมะนาว) ว่า Segment “Tech” นี้ คิดเป็น 35.97%

มิติสองคือ ที่ระดับของ Asset ว่าภายใน Segment นี้ๆ มี Asset ใดบ้าง เคสนี้คือ 2 กองทุน นั่นเอง เราก็จะเห็นทันทีเช่นกัน ว่า 2 กองทุนนี้ ถ้าวัดขนาดแล้ว คิดเป็นที่กี่ %

นอกจากนี้ ในหน้าจอนี้เอง ก็ยังมีการแสดงผล % ของระดับ Segment ด้วย ว่า B-INNOTECHRMF นั้น ถ้าคิดเป็น % ที่ระดับ Segment “Tech” นั้นๆ คิดเป็น 53.30% ส่วน K-USXNDQ-A(D) คิดเป็น 46.70% ภายใน Segment นั้นๆ ข้อมูลครบครันเลยทีเดียวครับ ทั้ง 2 มิติ

คุณผู้ใช้สามารถสร้างมุมมองได้หลายแบบนะครับ โดยสร้างสิ่งที่เรียกว่า Virtual Portfolio (อ่านแนวคิดของ Virtual Portfolio) และแบ่ง Segment ต่างๆ ภายในนั้น ตามแต่ความต้องการของคุณผู้ใช้แต่ละคนได้เลยครับ อิสระ คล่องตัว และ ยืดหยุ่น ที่จะกำหนดนิยามต่างๆ ของตนเองได้ คือ แนวคิดหลักของ FIN version ล่าสุด อย่างภาพตัวอย่างด้านล่าง ผมลองสร้าง Virtual Portfolio อีกอันหนึ่ง โดยแบ่งมุมมองในมุมของ Geographic Region ของ asset ที่เราไปลงทุน

ที่สำคัญสุดคือ Virtual Portfolio นั้น เราสามารถเลือก assets ที่เราบันทึกไว้ใน Portfolio ต่างๆ ใน FIN ได้ และ นำมา cross กันได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผมสามารถสร้าง Virtual Portfolio ที่เลือก กองทุนที่ผมบันทึกไว้ใน Portfolio A และ Portfolio B มาผสมกันใน Segment ของ Virtual Portfolio นี้ได้ เพื่อหาสัดส่วนต่างๆ นานา สิ่งที่จะเห็นคือ ภาพรวมของ Asset เราทั้งหมดนั่นเอง 😀

และแน่นอนครับ FIN Asset Planning นั้นไม่ได้มีแค่มุมมองของ %Allocation วัดมูลค่าของทรัพย์สินในเชิงสัดส่วนอย่างเดียว ยังมีในมุมของ Performance ให้ดูด้วยเช่นกัน ที่ปุ่มซ้ายด้านบน ให้กดปุ่มที่ 2 ที่เป็นรูปวงกลมเล็กๆ 4 วง เพื่อเข้าดูในมุมมองของ Performance จะเห็นภาพตามตัวอย่าง screenshot นี้

ภาพที่แสดง Performance ของ Asset ในแต่ละ Segment ต่างๆ

Chart นี้คือ Bubble Chart ครับ จะแสดงข้อมูลใน 3 มุม (3 มิติ) พร้อมกัน

มิติแรก: แกนแนวนอน แกน X: คือ จะทำให้เห็นว่า วงนั้นๆ มี Current Cost ปัจจุบัน อยู่ที่เท่าไร

มิติสอง: แกนแนวตั้ง แกน Y: แสดง Unrealized Profit /Loss กำไรขาดทุน ณ ปัจจุบันของ Asset นั้นๆ

มิติสาม: ขนาดของวงกลม ว่าวงใหญ่หรือวงเล็กนั้น แสดงถึง ขนาดของทรัพย์สินครับ โดยค่าที่แสดงคือ Current Value วงยิ่งใหญ่ คือ วงที่เรามี Current Value ของ asset นั้นๆ ใหญ่ครับ อย่างเคสตัวอย่างด้านบนคือ เรามีเงินลงทุน (+กำไร Unrealized Profit) ใน Segment “Tech” อยู่ที่ 3.5 ล้านบาท วงใหญ่สุด ตามมาด้วย Segment “Healthcare” สีส้ม ที่ 2.88 ล้าน

ดังนั้น ความหมายของ Bubble Chart นี้ วงกลมต่างๆ อยู่ตรงไหนมีความหมายอย่างไร ? แน่นอนว่า ยิ่งวงใหญ่ และ ยิ่งอยู่สูง ไปด้านบนขวาๆ นั่นคือ Asset ที่ performance impact สูงสุดนั่นเอง เราก็จะเห็นได้แบบเร็วๆ ครับ ว่า Segment ไหนเรา performance แรงและดี อย่างภาพตัวอย่างนี้คือ สีเขียว (Tech) และ สีส้ม (Healthcare) นั่นเอง

คือถ้าดูข้อมูลแบบละเอียดที่ Healthcare เราจะเห็นว่า %Unrealized Profit นั้น อยู่ที่ +91.51% ตัวเลขสูงครับ ในขณะที่ Tech นั้นอยู่ที่ +78.59% ซึ่งก็น้อยกว่า Healthcare ถ้าดู % เราก็จะเห็นว่า % Unrealized Profit ของ Healthcare นั้นทำได้ดีกว่าของ Tech แต่ในเชิง Impact นั้นแตกต่างกัน พอดูเป็น Bubble Chart 3 มิติแบบนี้ ก็จะเห็นชัดเลยฮะว่า อย่ายึดติดกับตัวเลข % Unrealized Profit ให้ดูที่ Impact โดยรวมน่าจะดีกว่า

ยกตัวอย่างนะครับ สมมติผม ลงทุนเข้าหุ้นตัวนึง (หุ้น A) 10,000 บาท แล้วหุ้นตัวนั้น กำไรพุ่งมากๆ หากคิดเป็น % เราจะเห็นเลยว่า +800% ครับ เราอาจจะรู้สึกว่า performance สูงมากๆ ซึ่งจริงๆ ก็สูงครับ หากมองเฉพาะใน Asset ตัวนั้นตัวเดียว แต่ถ้าตีเป็นตัวเงิน ก็จะเห็นว่า มูลค่าทั้งหมดอยู่ที่ 90,000 บาท (10,000 ต้นทุน อีก 80,000 นั้นคือ กำไร)

และผมลงทุนหุ้นอีกตัวนึง (หุ้น B) 1,000,000 บาท หุ้นตัวนั้น กำไรออกมา ในเวลาเดียวกัน อยู่ที่ +40% มูลค่าทั้งหมดอยู่ที่ 1,400,000 บาท (1,000,000 ต้นทุน อีก 400,000 คือกำไร) จะเห็นว่า หุ้น B มี impact กว่าเยอะมาก ต่อมูลค่าทรัพย์สินโดยรวมของเรา

ก็เป็นมุมมองที่โดยส่วนตัวผมอยากมองครับ เลยทำออกมาในรูปแบบๆ นี้ ณ เวลานี้ (อนาคต อาจจะเปลี่ยนแปลงได้) จะไม่ใช้ % Unrealized Profit มาเป็นตัว plot chart นะครับ แต่จะแสดงผลในตารางด้านล่างของ chart แทน

และเหมือนเดิมครับ สามารถดูภาพ zoom ย่อยเข้าไปได้ โดยการเอานิ้วแตะที่แต่ละ Segment ในตาราง ก็จะเข้าไปดู Performance Chart แบบนี้ แต่เป็นที่ระดับ Asset ครับ

นอกจากมองเห็นภาพรวมแล้ว ยังมีความสามารถในการ Plan Projection ค่าประมาณการการเติบโต (หรือถดถอย) ของ asset ต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน เพื่อ Simulation ออกมาดูว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าต่างๆ ไปในทิศทางที่ลองปรับค่าดูนั้น ผลรวมและสัดส่วนต่างๆ จะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง ลองกดดูที่ ปุ่ม Plan ดูนะครับ ที่อยู่ด้านล่างใต้ Donut Chart

บทความนี้ น่าจะอธิบายถึงความสามารถใหม่ของ FIN Asset Planning ได้เพียงพอแล้วในระดับ Overview เบื้องต้น ส่วนวิธีการใช้งาน วิธีสร้าง Virtual Portfolio หรือ Segment หรือใดๆ นั้น คุณผู้ใช้สามารถดูเพิ่มเติมได้จาก Link ด้านล่างนี้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FIN Virtual Portfolio
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีการใช้ FIN Asset Planning

หากมีคำถามใดๆ สามารถเขียนมาได้ในช่องทางติดต่อ 2 ช่องทางนะครับ ทั้งทาง Email และ Facebook ดูช่องทางติดต่อได้ที่ใน FIN App > More > Contact FIN

ขอบคุณครับผม