19 Sep 2023 – ประกาศสำคัญถึงเรื่อง การยกเลิกการรองรับ Facebook Login ภายใน FIN App ตั้งแต่วันที่ 1 December 2023 (1 ธันวาคม 2566) นี้เป็นต้นไป
แนะนำคุณผู้ใช้ที่ใช้ FIN แบบที่ลงทะเบียนสร้าง FIN Account ไว้แบบที่ใช้ Facebook ให้ทำการ เปลี่ยนวิธีการ Login เป็นวิธีการอื่น เช่น Sign in with Apple หรือ FIN ID (กำหนด Username ด้วยตนเอง) โดยทำทันทีนะครับ เพราะหากเกินกำหนดเข้าสู่ช่วงวันที่ 1 December 2023 แล้ว จะไม่สามารถ Login with Facebook ภายใน FIN App ได้แล้วนะครับ (จะเจอข้อความ Error ตอน Login และ Login ไม่สำเร็จ เข้า FIN Account เข้าไปดูข้อมูลต่างๆ ที่บันทึกไว้ใน Portfolio, Watchlist หรือ อื่นๆ ไม่ได้)
คุณผู้ใช้สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก Article นี้ หรือ ดูจาก Youtube Video ได้เช่นกันนะครับ
เหตุผลที่ยกเลิกการ Support Facebook Login ภายใน FIN App
ในขณะที่ การ Login โดยวิธีอื่นๆ เช่น Sign in with Apple หรือ FIN ID นั้น ไม่พบปัญหาดังกล่าว ประสบการณ์การใช้งานที่ราบลื่น ไม่เจอปัญหาใดๆ เกี่ยวกับเรื่อง การ Login FIN Account ใดๆ คือคุณผู้ใช้จะไม่เสียเวลากับเรื่องเหล่านี้
วิธีการตรวจสอบว่า ตนเองใช้ FIN Account แบบ Facebook Login อยู่หรือไม่ กรณีจำไม่ได้ นั้น สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการกดเปิด FIN App และเข้าไปที่หน้า More และดูตรง Account & Settings ตรงปุ่ม Log out ครับ ว่าภายในวงเล็บ เขียนว่า ID: Facebook หรือไม่ ถ้าระบุ ID: Facebook แสดงว่า คุณผู้ใช้ใช้แบบ Facebook Login อยู่นะครับ ตามรูปตัวอย่างด้านล่าง *** สังเกตดูอย่างเดียวนะครับ ว่ามีคำว่า ID: Facebook หรือไม่ ไม่ต้องกด Log out นะครับ ***
การเปลี่ยนวิธีการ Login FIN Account และข้อมูลทุกอย่างยังอยู่ครบถ้วนเหมือนเดิม คือ FIN Account เดิม แต่แค่เปลี่ยนวิธีการ Login นั้น ความสามารถนี้มีมาใน FIN ตั้งแต่ปี 2020 ครับ ซึ่งก็มีหลายๆผู้ใช้ ใช้มาอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนนั้นมีลำดับขั้นตอนดังนี้ (ให้ทำให้ครบทั้ง 3 Steps อย่าข้าม Step ใดๆครับ)
Step-1: ที่หน้า More ภายใน FIN App นั้น จะมีปุ่ม “Manage Sign in Method” ถ้าอิงจากรูปด้านบน ก็คือ ปุ่มที่อยู่ด้านบนเหนือจาก ปุ่ม Log out นั่นเอง กดเข้าปุ่มนี้ จะเข้าสู่หน้า Manage Sign in Method ครับ
หากไม่พบปุ่ม “Manage Sign in Method” ให้ กด Update FIN ใน App Store ให้เป็น Version ล่าสุด และ (ถ้าจำเป็น) ให้ Update iOS ให้เป็น Version 12 ขึ้นไปนะครับ (ปัจจุบัน iOS Version ล่าสุดคือ Version 17)
Step-2: ดูจากรูปด้านบน กลุ่มลูกศรสีแดง ให้เลือก Link วิธีการ Login อื่นๆ ที่ต้องการ ซึ่งก็จะมี วิธี Sign in with Apple (หรือในหน้าจอจะเขียนว่า Apple ID) และ วิธีแบบ FIN ID (ที่จะให้คุณผู้ใช้ กำหนด Username ด้วยตนเอง)
ถ้าให้แนะนำ วิธีแบบ Apple ID นั้น จะค่อนข้างราบลื่นและง่ายที่สุดโดยที่ คุณผู้ใช้ไม่ต้องจำ Password ใดๆ เพราะทุกอย่างเก็บอยู่ภายใน Apple ID นั้นๆ แต่ว่า กรณีมีเครื่อง iOS, iPadOS มากกว่า 1 เครื่อง หากเครื่องต่างๆ เหล่านั้นต้องการ เข้า FIN Account เดียวกัน สิ่งจำเป็นคือ ทุกเครื่องจะต้อง Login Apple ID เดียวกันหมดนะครับ ที่ระดับของ iOS เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เข้าสู่ FIN Account เดียวกันได้
และ กรณีที่ ภายหลังกดปุ่ม Sign in with Apple แล้ว นิ่งๆ ไม่มีขึ้น หน้าจออะไรให้ทำต่อ ถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ แนะนำ Shut Down iOS เครื่องนี้ (กดเข้า iOS Setting > General > Shut Down) แล้วเปิดเครื่องใหม่อีกรอบครับ โดยสถิติปัญหาเหล่านี้จะหายไปครับ แต่นานๆ จะเกิดเคสลักษณะนี้นะ ไม่ได้เกิดทุกครั้งครับ
เมื่อกดปุ่ม Link แต่ละวิธีการ ก็จะเข้าสู่หน้าจอในแต่ละรูปแบบไปนะครับ ก็ทำให้เสร็จสิ้นเรียบร้อย
กรณีของ Apple ID นั้น เพียงแค่ทำตาม flow ของหน้าจอของ Apple ครับ มีการให้เลือกว่าจะแสดง Display Name รวมถึงจะ ให้ Show หรือ Hide Email ตามที่ต้องการได้เลย
กรณีของ FIN ID นั้น ถ้ากด Link ก็จะเข้าสู่ขั้นตอน การ ให้สร้าง Username, Password และ Email ครับ ก็ทำให้จบขั้นตอน จากนั้นจะกลับมาสู่หน้า Manage Sign in Method อีกครั้ง ให้ทำ Step-3 ต่อ
Step-3: ให้กดติ๊กถูก ที่ด้านหน้าของวิธีการที่เพิ่ง Link ไปใน Step-2 ครับ จุดนี้จะเป็นการบอก FIN ว่าในการ Login ครั้งต่อไป ให้ใช้วิธีการ ที่ติ๊กถูกด้านหน้าที่เลือกไว้ ในการประมวลผลการ Login ครับ ให้กดข้อนี้ให้สำเร็จนะครับ ถึงจะเป็นการทำให้ครบถ้วนกระบวนการของการเปลี่ยนวิธี Login FIN Account
ง่ายๆ เท่านี้ครับ สำหรับวิธีการเปลี่ยนวิธี Login FIN Account กรณีมีเครื่องใหม่ในอนาคต ก็ แค่โหลด FIN จาก Apple App Store แล้วก็กด Login FIN Account ตามวิธีการใหม่ที่เลือกได้เลย ข้อมูลทุกอย่างตามมาครบถ้วน
ค่า Today Wealth Change นั้น เป็นค่า metric ใหม่ ที่ไม่เคยมีใน FIN มาก่อนนะครับ ภายใน FIN version ก่อนหน้านี้ จะมีค่า metric ที่เรียกว่า Total 1-day chg อันนั้น จะไม่เหมือนกับ Today Wealth Change ซะทีเดียว อธิบายโดยรายละเอียดดังนี้
Total 1-day chg นั้น จะคิดการเปลี่ยนแปลง โดยอิง NAV Date วันล่าสุด เทียบกับวันก่อนหน้า สมมติว่า ถ้าติดวันหยุดกองทุนนั้นๆ ค่า 1-day chang ก็ยังนำมูลค่าการเปลี่ยนแปลงมาคิดนะครับ เพราะ จะอิงตาม NAV Date วันล่าสุด เทียบกับวันก่อนหน้าเสมอๆ (ไม่สนใจวันหยุด เพราะว่า ไม่มีวันหยุดในฐานข้อมูล NAV Date List จะเป็นวันต่อเนื่องทุกวัน เพียงแค่จะข้ามวันหยุดไปในชุดข้อมูล)
และข้อจำกัดอีกข้อคือ FIN Today Wealth Change Live Tracking นั้น จะทำงานได้เฉพาะบน iPhone ในช่วงต้น แล้วเดี๋ยวเมื่อ iPadOS version 17 ออกแล้วก็จะใช้บน iPadOS ได้ด้วย แต่ FIN บน Apple Silicon Mac นั้น ณ จุดเวลานี้ จะยังไม่สามารถใช้ความสามารถใหม่นี้ได้นะครับ (ยังไม่มี LiveActivity Framework บน Apple Silicon Mac)
หากอ่านบทความถึงจุดนี้ แล้วเกิดสนใจใช้งาน แนะนำกด Update FIN ให้เป็น Version 4.0.13 ล่าสุด ซึ่งทางผมจะปล่อยขึ้น Apple App Store เร็วๆ นี้ในช่วงสัปดาห์ที่มี Event: Apple iPhone 15 Launch นะครับ และถ้าต้องการให้ได้ประสบการณ์การใช้งานขั้นสูงสุดจริงๆ แนะนำใช้บนเครื่อง ที่รองรับ Always-on display และ Dynamic Island ครับ 🙂
และ FIN ใหม่นั้น รองรับ iPadOS แบบ Multiple Windows ได้ด้วยนะครับ (เปิด FIN พร้อมกัน มากกว่า 1 หน้าจอใน iPad OS splitview) ดู demo ได้จาก video นี้ครับ
ใน FIN version 4.0 เราสามารถเลือกดู Transaction ที่บันทึกได้ 3 แบบ คือ แบบปกติ ตามรูปด้านบนจะขึ้นทุก transaction ที่บันทึกเข้าไป และ ยังสามารถเลือกดูแบบ Group by Lot หรือ by Year ได้ ซึ่งจริงๆ ก็ทำได้มานานแล้ว แต่ FIN version 4.0 นั้น จะเห็นรายละเอียดมากขึ้น ตามรูปด้านล่างนี้
คือจะเห็น Lot 1 และ Lot 2 พร้อมกับ แท่งสีเขียว เพื่อให้เห็น ปริมาณหน่วยที่เหลืออยู่ใน Lot นั้นๆ นั่นเอง ทีนี้เริ่มบันทึก Sell Transaction ครับ ของวันที่ 6 July 2021 จำนวน 8,000.00 บาท ตามภาพด้านล่าง
รูปถัดไปด้านล่างนี้ แสดงผลแบบ By Lot ของ FIFO จะเห็นว่า Lot 1 กลายเป็นสีเทา ขายหมดไปเรียบร้อย ดังนั้นต้นทุนเฉลี่ยของ FIFO ที่จะใช้คือ ใช้ของ Lot ที่เหลืออยู่ ในกรณีนี้คือ Lot 2 ซึ่งต้นทุนอยู่ที่ 20.8605 ค่าเฉลี่ยต้นทุนก็จะเป็นค่าเดียวกัน
มาลองดูแบบ WAVG บ้าง ตามรูปด้านล่างนี้ครับ ต้นทุนเฉลี่ย Avg Cost ก็ยังคงเป็นค่าเดิมคือ 20.8796 และหากดู Group by Lot แท่งสีเขียวนั้น ถึงแม้ว่าเราจะทำ Sell Transaction ไป 2 รอบแล้ว การขาย ก็คือ ขายเทียบกับทุก Lot เหมือนเดิม จะไม่มี Lot ใด Lot หนึ่งขายหมดก่อน เหมือนแบบ FIFO ทุก Lot จะขายไปพร้อมๆ กัน เฉือนออกในสัดส่วนที่พอๆ กัน นั่นเอง วิธีคิดต้นทุนเฉลี่ยยังคงเหมือนเดิมคือ เอา Remaining Cost ของทุก Lot มารวมกัน และ หารด้วยจำนวนหน่วย ดังนี้ (5,154.36 + 10,308.72) / 740.5819 = 20.8796
อ่านถึงจุดนี้ คงจะเห็นภาพอย่างชัดเจนของความแตกต่างระหว่าง การคิดต้นทุนทั้ง 2 วิธีนะครับ และ FIN version 4.0 ก็สามารถช่วยอธิบายให้เห็นภาพเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนภายใน app ตามที่อธิบายไปทั้งหมด นอกเหนือจากค่าต้นทุนเฉลี่ยที่จะคิดต่างกันแล้ว ค่า Realized Profit/Loss ก็จะออกมาแตกต่างกันเช่นกันนะครับ เพราะว่า การเทียบต้นทุนกับ Lot เก่านั้น ทั้ง 2 วิธีจะใช้คนละจุดเทียบกันนั่นเอง
ซึ่ง กระบวนการคิดต่างๆ เหล่านี้ ผมพัฒนาเข้าไปใน FIN version 4.0 เรียบร้อยแล้ว และมีการคิด Sub Period คือ อิงกับ NAV ทุกวันทำการของกองทุนรวมนั้นๆ (คือคิด Sub Period ทุกวันทำการ) แล้วนำมาคิด TWR จากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน โดยที่สามารถ plot ออกมาเป็น chart ต่างๆ ตามรูปด้านบน ซึ่งคุณผู้ใช้ สามารถใช้ได้อย่างสะดวกเลยครับ แค่กรอก transaction ต่างๆ ให้ครบถ้วน เดี๋ยว FIN version 4.0 จะคำนวณออกมาให้หมดครับ
และยังมีอีกหลายความสามารถที่ต่อยอดการคิดจากเรื่องนี้ครับ FIN สามารถคิด Total Return ได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับของแต่ละกองทุนที่บันทึกเข้าไป, ระดับของทั้ง Portfolio หรือ ระดับหลาย Portfolio รวมกัน (กำหนด portfolio ได้ว่าจะให้รวม portfolio ใดบ้าง) ทำให้เราเห็นภาพรวมของ Total Return ได้ครบในหลายๆ มิติ และยังนำมาใช้ในอีกหลายๆ ความสามารถของ FIN version 4.0
อ่านถึงจุดนี้แล้ว คุณสามารถโหลด FIN ได้บน Apple App Store https://apple.co/2HSKplH Version 4.0 นั้นรองรับ iOS, iPad OS 15 ขึ้นไป และรวมถึง macOS ที่ใช้ chip Apple Silicon M1, M2 ด้วยครับ คาดการณ์ว่าน่าจะเริ่ม update FIN version 4.0 ได้ตั้งแต่ วันพุธที่ 6 July 2022 เป็นต้นไป
ลองใช้ FIN ใหม่ดูครับ หากมีความคิดเห็นใดๆ สามารถเขียนมาในหน้า Feedback ใน FIN ได้เลยนะครับ ขอบคุณครับ
20 April 2021 — FIN Asset Planning เป็นความสามารถใหม่ของ FIN App กองทุนรวม ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของความสามารถใหม่นี้คือ FIN Virtual Portfolio (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดของ Virtual Portfolio กด link) เนื้อหาในบทความนี้จะเน้นที่วิธีใช้ FIN Asset Planning ครับ
เนื้อหา Introduction เกี่ยวกับ FIN Asset Planning อ่านได้จาก Link ด้านล่างนี้
ถึงจุดนี้ เราจะเห็นแล้วว่า Healthcare นั้น มีสัดส่วน 78.53% เมื่อเทียบกับ Total Asset Current Value ทั้งหมดที่เรากำลังนิยามไว้ใน Virtual Portfolio นี้นะครับ
ในแต่ละ Segment นั้น เราเลือกประเภทได้นะครับ ตรง Asset Type ว่า Segment นั้นจะใช้ข้อมูลจาก FIN Portfolio ซึ่งจัดเป็น Tracking Asset ตามปกติ หรือว่า เราอยากให้ Segment นี้เป็น Asset อื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจาก FIN Portfolio ก็ได้เช่นกัน โดยการกดเลือก Non-Tracking Asset ตามภาพด้านบน
โดยรวมการใช้งานก็จะประมาณนี้ หากมีคำถามใดๆ สามารถติดต่อมาได้ตามช่องทางปกตินะครับ ทั้ง Email และ Facebook สามารถดูช่องทางติดต่อได้ที่ FIN > หน้า More > Contact FIN
20 April 2021 — FIN มีแนวคิดของ Portfolio แบบใหม่ ที่ใช้งานร่วมกับ Portfolio แบบปกติ ซึ่งแนวคิดใหม่นั้น ผมเรียกว่า Virtual Portfolio เนื้อหาภายในบทความนี้ จะอธิบายถึงความสามารถ คุณลักษณะของ FIN Virtual Portfolio แบบกระชับครับ
ย้อนกลับไปในปี 2015 ที่ FIN App ขึ้น Apple App Store version แรกสุดนั้น FIN รองรับ 1 portfolio ที่ให้ผู้ใช้สามารถบันทึก transaction ต่างๆ ของกองทุนต่างๆ ของตนเอง เข้าไปภายใน FIN Portfolio เพื่อที่จะเห็น ภาพรวมทั้งหมดของตนเองได้ จากนั้น ก็เริ่มมีความต้องการ ที่เฉพาะมากขึ้น ที่ต้องการให้ FIN รองรับมากกว่า 1 portfolio ผมเลยพัฒนาออกมาให้รองรับการบันทึก transaction มากกว่า 1 portfolio เรียกว่า Multiple Portfolios
และแนวคิดใหม่ล่าสุดที่ break ข้อจำกัดเดิม ก็ออกมากับ FIN version 3.61 นั่นคือ FIN Virtual Portfolio นั่นเอง
วิธีอธิบายเรื่องนี้ได้ง่ายสุด น่าจะเป็นภาพ diagram แนวคิดนะครับ ภาพด้านล่างคือ FIN Multiple Portfolios ครับ
หากเคยใช้ FIN Multiple Portfolios อยู่แล้ว ก็จะรู้ลักษณะการทำงานอยู่แล้วครับ ว่า แต่ละ port นั้นแยกอิสระต่อกัน การบันทึกกองทุนเข้า port ใด port หนึ่งจะไม่มี impact ต่ออีก port นึง นี่คือคุณลักษณะปัจจุบันของ FIN Multiple Portfolios