FIN Virtual Portfolio

20 April 2021 — FIN มีแนวคิดของ Portfolio แบบใหม่ ที่ใช้งานร่วมกับ Portfolio แบบปกติ ซึ่งแนวคิดใหม่นั้น ผมเรียกว่า Virtual Portfolio เนื้อหาภายในบทความนี้ จะอธิบายถึงความสามารถ คุณลักษณะของ FIN Virtual Portfolio แบบกระชับครับ

ย้อนกลับไปในปี 2015 ที่ FIN App ขึ้น Apple App Store version แรกสุดนั้น FIN รองรับ 1 portfolio ที่ให้ผู้ใช้สามารถบันทึก transaction ต่างๆ ของกองทุนต่างๆ ของตนเอง เข้าไปภายใน FIN Portfolio เพื่อที่จะเห็น ภาพรวมทั้งหมดของตนเองได้ จากนั้น ก็เริ่มมีความต้องการ ที่เฉพาะมากขึ้น ที่ต้องการให้ FIN รองรับมากกว่า 1 portfolio ผมเลยพัฒนาออกมาให้รองรับการบันทึก transaction มากกว่า 1 portfolio เรียกว่า Multiple Portfolios

และแนวคิดใหม่ล่าสุดที่ break ข้อจำกัดเดิม ก็ออกมากับ FIN version 3.61 นั่นคือ FIN Virtual Portfolio นั่นเอง

วิธีอธิบายเรื่องนี้ได้ง่ายสุด น่าจะเป็นภาพ diagram แนวคิดนะครับ ภาพด้านล่างคือ FIN Multiple Portfolios ครับ

หากเคยใช้ FIN Multiple Portfolios อยู่แล้ว ก็จะรู้ลักษณะการทำงานอยู่แล้วครับ ว่า แต่ละ port นั้นแยกอิสระต่อกัน การบันทึกกองทุนเข้า port ใด port หนึ่งจะไม่มี impact ต่ออีก port นึง นี่คือคุณลักษณะปัจจุบันของ FIN Multiple Portfolios

FIN Virtual Portfolio จะเป็นไปตามภาพด้านล่างนี้

นั่นคือ เราสามารถสร้าง Virtual Portfolio โดย อิงข้อมูลจาก FIN Portfolio แบบปกติได้ โดยไม่ต้องกรอก transaction ใดๆ ใหม่ๆ แค่เชื่อมโยงเข้าไปใน Virtual Portfolio ตามที่ต้องการ ซึ่งจุดนี้ คุณผู้ใช้มีอิสรภาพสูงสุด ในการเลือกสร้าง Virtual Portfolio ของตนเอง ครับ ว่าจะให้นำ Asset จาก Portfolio ใด มาประกอบเข้าไปบ้าง

FIN Virtual Portfolio จะมี การแบ่งกลุ่มภายในด้วยแนวคิดของ Segment ครับ ซึ่งคุณผู้ใช้ก็กำหนดเองได้หมดเช่นกัน ว่าจะแบ่งเป็นกี่ Segment และ แต่ละ Segment จะนำ Asset จาก FIN Multiple Portfolios ใดบ้าง มาประกอบ สร้างสรรค์ได้ตามที่ตนเองต้องการ ซึ่งการเลือก Assets ต่างๆ ที่บันทึกไว้อยู่แล้วมาประกอบนั้น ผมจะขอเรียกว่า Tracking Asset นะครับ คือ Asset ที่มีมูลค่าปรับเปลี่ยนรายวัน ตามค่า NAV ของกองทุน (ของ Asset นั้นๆ) ค่าเหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงและ auto-update โดยอัตโนมัติทุกวันทำการ ตามปกติ

และนอกเหนือไปจากนั้น FIN Virtual Portfolio ยังรองรับ Non-Tracking Asset ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็คือ ผู้ใช้สามารถสร้าง Non-Tracking Asset ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบสินทรัพย์อื่นๆ ที่ FIN ไม่ได้รองรับ การ track มูลค่าต่างๆ ให้อัตโนมัติครับ เช่น เงินสด, หุ้นไทย, หุ้นต่างประเทศ, Crypto, Bond หรือ อื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน แต่ชื่อ Non-Tracking Asset อันนี้ก็ชัดเจนในตัวนะครับ ว่า คุณผู้ใช้จะต้อง ใส่ค่า มูลค่าทรัพย์สินต่างๆ เหล่านี้ ด้วยตนเอง ระบบจะไม่ได้ Tracking ให้อัตโนมัติ ณ เวลานี้ (ในอนาคตไม่แน่ :D)

แนวคิดของ FIN Virtual Portfolio ในขั้นต้นจะถูกนำมาใช้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักใน FIN Version 3.61 ล่าสุด ที่มี Feature Asset Planning ครับ โดยผู้ใช้สามารถสร้าง Virtual Portfolio ได้หลากหลายตามความต้องการ เพื่อให้เห็นมุมมองของ Asset Allocation และ Performance Impact ภายใน FIN Asset Planning feature ใหม่ นั่นเอง ส่วนในอนาคต FIN Virtual Portfolio ก็จะถูกนำไปใช้ในจุดอื่นๆ ต่อไปภายใน FIN ด้วยเช่นกัน รอติดตามกันต่อไปในอนาคต

หากมีคำถามใดๆ สามารถเขียนมาได้ทาง หน้า Feedback ใน FIN App หรือไม่ก็ทางอีเมล หรือทาง Facebook (กดเข้าไปใน FIN > More > Contact FIN ครับ)

Download FIN App ได้ที่ : https://apple.co/2HSKplH

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความสามารถใหม่ FIN Asset Planning
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีการใช้ FIN Asset Planning

เกี่ยวกับความสามารถใหม่ FIN Asset Planning

19 April 2021 — FIN Version 3.61 ล่าสุดที่กำลังจะขึ้น Apple App Store ในอีกไม่กี่วันจากนี้ มีความสามารถใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนใน FIN นั่นคือ Asset Planning โดย Feature ใหม่นี้ ทำอะไรได้บ้างนั้น ติดตามอ่านได้จากเนื้อหาของบทความนี้นะครับ 🙂

วัตถุประสงค์ของ Asset Planning คือ มีไว้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเห็นภาพรวม Total Asset ของตนเอง ได้ในมุมมองต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการจะมองเห็นครับ นั่นหมายความว่า คุณผู้ใช้สามารถแบ่งกลุ่ม Asset ต่างๆ ของตนเองในมุมมองที่ต้องการผ่าน FIN ได้ และ FIN Asset Planning จะคำนวณ และ plot chart ต่างๆ ออกมา ตามกลุ่มของ Asset ที่ผู้ใช้เป็นคนแบ่งด้วยตนเอง ซึ่งทำได้หลากหลายความต้องการ และ มุมมอง กำหนดได้ตนเอง แบบอิสระครับ

ยกตัวอย่างด้วยภาพ screenshot ด้านล่างนี้ครับ เป็นการสร้างมุมมองโดยแบ่ง Segment ของ Asset ต่างๆ ของเราเอง ให้เป็นไปตาม ประเภทของ Asset ที่เรากำหนดขึ้นมาเอง จะเห็นว่า ผมลองกำหนดให้แบ่งเป็น Tech, Healthcare, Property และ ยังมีแบ่งเป็น Crypto Token หรือ Cash ก็ได้ด้วยเช่นกัน

ภาพรวมของ Total Asset ในมุมมองของแบ่งตามประเภทของ Asset

หรือ หากต้องการ zoom เจาะลึกเข้าไปว่าภายใน Segment นั้นๆ มี Asset ใดบ้าง ก็ใช้นิ้วแตะเข้าไปในแต่ละ Segment ที่อยู่ในตารางครับ จะเห็น ภาพตาม screenshot ด้านล่างนี้

ภาพ zoom เจาะเข้าไปใน Segment “Tech” ว่าประกอบไปด้วย Asset ใดบ้าง

จากภาพด้านบนเป็นมุมมองการ zoom เข้าไปดู Segment “Tech” นั่นเอง ซึ่ง ผลรวมของ Tech นั้นคิดเป็น 35.97% ของทั้งหมด โดยภายในนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 Assets ย่อย นั่นคือ B-INNOTECHRMF ที่ 19.17% และ K-USXNDQ-A(D) ที่ 16.80%

ถ้าเราดูที่ Chart อย่างเดียว เราก็จะเห็นทั้ง 2 มิติครับ

มิติแรกคือ ที่ระดับของ Segment (สีเขียวมะนาว) ว่า Segment “Tech” นี้ คิดเป็น 35.97%

มิติสองคือ ที่ระดับของ Asset ว่าภายใน Segment นี้ๆ มี Asset ใดบ้าง เคสนี้คือ 2 กองทุน นั่นเอง เราก็จะเห็นทันทีเช่นกัน ว่า 2 กองทุนนี้ ถ้าวัดขนาดแล้ว คิดเป็นที่กี่ %

นอกจากนี้ ในหน้าจอนี้เอง ก็ยังมีการแสดงผล % ของระดับ Segment ด้วย ว่า B-INNOTECHRMF นั้น ถ้าคิดเป็น % ที่ระดับ Segment “Tech” นั้นๆ คิดเป็น 53.30% ส่วน K-USXNDQ-A(D) คิดเป็น 46.70% ภายใน Segment นั้นๆ ข้อมูลครบครันเลยทีเดียวครับ ทั้ง 2 มิติ

คุณผู้ใช้สามารถสร้างมุมมองได้หลายแบบนะครับ โดยสร้างสิ่งที่เรียกว่า Virtual Portfolio (อ่านแนวคิดของ Virtual Portfolio) และแบ่ง Segment ต่างๆ ภายในนั้น ตามแต่ความต้องการของคุณผู้ใช้แต่ละคนได้เลยครับ อิสระ คล่องตัว และ ยืดหยุ่น ที่จะกำหนดนิยามต่างๆ ของตนเองได้ คือ แนวคิดหลักของ FIN version ล่าสุด อย่างภาพตัวอย่างด้านล่าง ผมลองสร้าง Virtual Portfolio อีกอันหนึ่ง โดยแบ่งมุมมองในมุมของ Geographic Region ของ asset ที่เราไปลงทุน

ที่สำคัญสุดคือ Virtual Portfolio นั้น เราสามารถเลือก assets ที่เราบันทึกไว้ใน Portfolio ต่างๆ ใน FIN ได้ และ นำมา cross กันได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผมสามารถสร้าง Virtual Portfolio ที่เลือก กองทุนที่ผมบันทึกไว้ใน Portfolio A และ Portfolio B มาผสมกันใน Segment ของ Virtual Portfolio นี้ได้ เพื่อหาสัดส่วนต่างๆ นานา สิ่งที่จะเห็นคือ ภาพรวมของ Asset เราทั้งหมดนั่นเอง 😀

และแน่นอนครับ FIN Asset Planning นั้นไม่ได้มีแค่มุมมองของ %Allocation วัดมูลค่าของทรัพย์สินในเชิงสัดส่วนอย่างเดียว ยังมีในมุมของ Performance ให้ดูด้วยเช่นกัน ที่ปุ่มซ้ายด้านบน ให้กดปุ่มที่ 2 ที่เป็นรูปวงกลมเล็กๆ 4 วง เพื่อเข้าดูในมุมมองของ Performance จะเห็นภาพตามตัวอย่าง screenshot นี้

ภาพที่แสดง Performance ของ Asset ในแต่ละ Segment ต่างๆ

Chart นี้คือ Bubble Chart ครับ จะแสดงข้อมูลใน 3 มุม (3 มิติ) พร้อมกัน

มิติแรก: แกนแนวนอน แกน X: คือ จะทำให้เห็นว่า วงนั้นๆ มี Current Cost ปัจจุบัน อยู่ที่เท่าไร

มิติสอง: แกนแนวตั้ง แกน Y: แสดง Unrealized Profit /Loss กำไรขาดทุน ณ ปัจจุบันของ Asset นั้นๆ

มิติสาม: ขนาดของวงกลม ว่าวงใหญ่หรือวงเล็กนั้น แสดงถึง ขนาดของทรัพย์สินครับ โดยค่าที่แสดงคือ Current Value วงยิ่งใหญ่ คือ วงที่เรามี Current Value ของ asset นั้นๆ ใหญ่ครับ อย่างเคสตัวอย่างด้านบนคือ เรามีเงินลงทุน (+กำไร Unrealized Profit) ใน Segment “Tech” อยู่ที่ 3.5 ล้านบาท วงใหญ่สุด ตามมาด้วย Segment “Healthcare” สีส้ม ที่ 2.88 ล้าน

ดังนั้น ความหมายของ Bubble Chart นี้ วงกลมต่างๆ อยู่ตรงไหนมีความหมายอย่างไร ? แน่นอนว่า ยิ่งวงใหญ่ และ ยิ่งอยู่สูง ไปด้านบนขวาๆ นั่นคือ Asset ที่ performance impact สูงสุดนั่นเอง เราก็จะเห็นได้แบบเร็วๆ ครับ ว่า Segment ไหนเรา performance แรงและดี อย่างภาพตัวอย่างนี้คือ สีเขียว (Tech) และ สีส้ม (Healthcare) นั่นเอง

คือถ้าดูข้อมูลแบบละเอียดที่ Healthcare เราจะเห็นว่า %Unrealized Profit นั้น อยู่ที่ +91.51% ตัวเลขสูงครับ ในขณะที่ Tech นั้นอยู่ที่ +78.59% ซึ่งก็น้อยกว่า Healthcare ถ้าดู % เราก็จะเห็นว่า % Unrealized Profit ของ Healthcare นั้นทำได้ดีกว่าของ Tech แต่ในเชิง Impact นั้นแตกต่างกัน พอดูเป็น Bubble Chart 3 มิติแบบนี้ ก็จะเห็นชัดเลยฮะว่า อย่ายึดติดกับตัวเลข % Unrealized Profit ให้ดูที่ Impact โดยรวมน่าจะดีกว่า

ยกตัวอย่างนะครับ สมมติผม ลงทุนเข้าหุ้นตัวนึง (หุ้น A) 10,000 บาท แล้วหุ้นตัวนั้น กำไรพุ่งมากๆ หากคิดเป็น % เราจะเห็นเลยว่า +800% ครับ เราอาจจะรู้สึกว่า performance สูงมากๆ ซึ่งจริงๆ ก็สูงครับ หากมองเฉพาะใน Asset ตัวนั้นตัวเดียว แต่ถ้าตีเป็นตัวเงิน ก็จะเห็นว่า มูลค่าทั้งหมดอยู่ที่ 90,000 บาท (10,000 ต้นทุน อีก 80,000 นั้นคือ กำไร)

และผมลงทุนหุ้นอีกตัวนึง (หุ้น B) 1,000,000 บาท หุ้นตัวนั้น กำไรออกมา ในเวลาเดียวกัน อยู่ที่ +40% มูลค่าทั้งหมดอยู่ที่ 1,400,000 บาท (1,000,000 ต้นทุน อีก 400,000 คือกำไร) จะเห็นว่า หุ้น B มี impact กว่าเยอะมาก ต่อมูลค่าทรัพย์สินโดยรวมของเรา

ก็เป็นมุมมองที่โดยส่วนตัวผมอยากมองครับ เลยทำออกมาในรูปแบบๆ นี้ ณ เวลานี้ (อนาคต อาจจะเปลี่ยนแปลงได้) จะไม่ใช้ % Unrealized Profit มาเป็นตัว plot chart นะครับ แต่จะแสดงผลในตารางด้านล่างของ chart แทน

และเหมือนเดิมครับ สามารถดูภาพ zoom ย่อยเข้าไปได้ โดยการเอานิ้วแตะที่แต่ละ Segment ในตาราง ก็จะเข้าไปดู Performance Chart แบบนี้ แต่เป็นที่ระดับ Asset ครับ

นอกจากมองเห็นภาพรวมแล้ว ยังมีความสามารถในการ Plan Projection ค่าประมาณการการเติบโต (หรือถดถอย) ของ asset ต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน เพื่อ Simulation ออกมาดูว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าต่างๆ ไปในทิศทางที่ลองปรับค่าดูนั้น ผลรวมและสัดส่วนต่างๆ จะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง ลองกดดูที่ ปุ่ม Plan ดูนะครับ ที่อยู่ด้านล่างใต้ Donut Chart

บทความนี้ น่าจะอธิบายถึงความสามารถใหม่ของ FIN Asset Planning ได้เพียงพอแล้วในระดับ Overview เบื้องต้น ส่วนวิธีการใช้งาน วิธีสร้าง Virtual Portfolio หรือ Segment หรือใดๆ นั้น คุณผู้ใช้สามารถดูเพิ่มเติมได้จาก Link ด้านล่างนี้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FIN Virtual Portfolio
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีการใช้ FIN Asset Planning

หากมีคำถามใดๆ สามารถเขียนมาได้ในช่องทางติดต่อ 2 ช่องทางนะครับ ทั้งทาง Email และ Facebook ดูช่องทางติดต่อได้ที่ใน FIN App > More > Contact FIN

ขอบคุณครับผม

วิธีการย้ายข้อมูลใน portfolio สำหรับกองทุนที่เปลี่ยนชื่อ

23 May 2020 – บทความนี้มีวิธีการย้ายข้อมูล สำหรับกองทุนที่มีการเปลี่ยนชื่อกองทุนภายใน FIN นะครับ โดย ในช่วงเวลานี้ มีกองทุนที่เปลี่ยนชื่อดังนี้

  • ชื่อเดิม: ASP-LTF  ชื่อใหม่: ASP-LTF-T
  • ชื่อเดิม: ASP-GLTF  ชื่อใหม่: ASP-GLTF-T
  • ชื่อเดิม: ASP-SMELTF  ชื่อใหม่: ASP-SMELTF-T
  • ชื่อเดิม: TEGSSF  ชื่อใหม่: TEG-SSF
  • ชื่อเดิม: TEGSSFX  ชื่อใหม่: TEG-SSFX
  • ชื่อเดิม: K-CHANGE  ชื่อใหม่: K-CHANGE-A(A)
  • ชื่อเดิม: K-FIXEDPLUS  ชื่อใหม่: K-FIXEDPLUS-A
  • ชื่อเดิม: K-PROP  ชื่อใหม่: K-PROPI
  • ชื่อเดิม: KFAFIX  ชื่อใหม่: KFAFIX-A
  • ชื่อเดิม: KFCASH  ชื่อใหม่: KFCASH-A
  • ชื่อเดิม: KFENSET50  ชื่อใหม่: KFENS50-A
  • ชื่อเดิม: KFHAPPY  ชื่อใหม่: KFHAPPY-A
  • ชื่อเดิม: ONE-UGG  ชื่อใหม่:  ONE-UGG-RA
  • ชื่อเดิม: LHSMART-LTF  ชื่อใหม่:  LHSMARTLTF-D
  • ชื่อเดิม: PRINCIPAL GTR   ชื่อใหม่:  PRINCIPAL GFIXED
  • ชื่อเดิม: PRINCIPAL VF   ชื่อใหม่:  PRINCIPAL VF-A
  • ชื่อเดิม: PRINCIPAL SET50   ชื่อใหม่:  PRINCIPAL SET50-A

โดยวิธีการให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1. เข้า FIN App ไปที่ Portfolio กดเข้าไปในหน้า Transaction List ของ กองชื่อเดิม

2. เมื่อเข้าไปในนั้นแล้ว มันจะมีปุ่มด้านซ้ายบน (ปุ่มที่ 2 จากซ้าย อยู่ข้างๆ ปุ่มปิด) กดเข้าไปในนั้นฮะ (หรือดูตัวอย่างหน้าจอ ได้จาก Link นี้ครับ)

3. ปุ่มนี้จะเรียกใช้ Copy Transaction เพื่อเอาไว้ Copy Transaction ในกองเก่า ไปสู่กองใหม่ครับ ใส่ชื่อกองใหม่ได้เลยฮะ  จากนั้นกด Done

4. เมื่อเสร็จแล้ว ที่หน้า Portfolio จะมีกองใหม่ขึ้นแล้วครับ เมื่อตรวจรายละเอียดแล้ว ก็ลบกองเก่าทิ้งได้เลยครับ  วิธีการลบกองเก่าคือ  กลับไปที่หน้า Portfolio แล้ว ตวัดนิ้วไปทางซ้าย บนแถวของกองเก่าที่ต้องการลบครับ จะมีเมนู เพิ่มขึ้นมาให้กด Delete ครับ

เนื่องจากระบบ FIN ปัจจุบันยังไม่รองรับการเปลี่ยนชื่ออัตโนมัติ และเพื่อลดความสับสนแก่ user เลยจำเป็นต้องมีลำดับขั้นตอนด้านบนใช้ไปก่อนนะครับผม หากมีแนวโน้มการเปลี่ยนชื่อเกิดขึ้นบ่อยๆ  ผมจะพัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติอีกครั้งครับ  เลยต้องขออภัยในความไม่สะดวกนิดนึงฮะ 🙂

สำหรับการบันทึกกองชื่อเดิมใน Watchlist นั้น วิธีการคือ ลบชื่อเดิม และ กด + ใส่ชื่อใหม่เข้าไปครับผม

วิธีการสำหรับผู้ใช้ FIN ที่บันทึกกองทุนของ CIMB Principal ใน portfolio และต้องการเปลี่ยนชื่อให้เป็นชื่อล่าสุดเดียวกับ บลจ.

3 August 2019 – ช่วงประมาณเดือน June – July 2019 อ้างอิงตามข่าวนี้ บลจ. CIMB Principal ได้มีการปรับเปลี่ยน Rebrand ใหม่เอี่ยมทั้งหมด ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการคือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด (Principal)  ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อย่อกองทุนทุกกองทุนเพื่อให้สอดคล้องกับ branding ใหม่ของ บลจ. นะครับ   ภายใน FIN ก็รองรับทั้งชื่อใหม่และชื่อเก่าทั้งคู่ครับแต่เพื่อให้เป็นไปตามชื่อที่ถูกต้องจริงๆ ซึ่งชื่อเก่าก็จะหายไปในอนาคต ก็เลยต้องเขียน blog นี้ เพื่อแนะนำวิธีการ เปลี่ยนชื่อกองทุนของบลจ. นี้ที่บันทึกไว้ใน FIN Portfolio ให้เป็นชื่อใหม่ตรงตามข้อมูลล่าสุดของ บลจ. นะครับ

รายชื่อกองทุนทั้งหมดที่เปลี่ยนชื่อ มีดังนี้  (ในรูปแบบ ชื่อเก่าใน FIN > ชื่อใหม่ ใน FIN)

CIMB-PRINCIPAL (FAM) DEF > PRINCIPAL DEF

CIMB-PRINCIPAL (FAM) EEF > PRINCIPAL EEF และมีการเปลี่ยนเป็น PRINCIPAL EEF-D อีกครั้ง

CIMB-PRINCIPAL DPLUS > PRINCIPAL DPLUS และมีการเปลี่ยนเป็น PRINCIPAL DPLUS-A อีกครั้ง

CIMB-PRINCIPAL (FAM) FI > PRINCIPAL FI

CIMB-PRINCIPAL (FAM) GCF > PRINCIPAL GCF

CIMB-PRINCIPAL (FAM) GEF > PRINCIPAL GEF

CIMB-PRINCIPAL (FAM) LTF > PRINCIPAL ELTF

CIMB-PRINCIPAL (FAM) RMF > PRINCIPAL AARMF

CIMB-PRINCIPAL (FAM) RSRM > PRINCIPAL BARMF

CIMB-PRINCIPAL (FAM) SET1 > PRINCIPAL SET100RMF

CIMB-PRINCIPAL (FAM) VF > PRINCIPAL VF

CIMB-PRINCIPAL 70LTFD > PRINCIPAL 70LTFD

CIMB-PRINCIPAL APDI > PRINCIPAL APDI

CIMB-PRINCIPAL APDIRMF > PRINCIPAL APDIRMF

CIMB-PRINCIPAL CHEQ-A > PRINCIPAL CHEQ-A

CIMB-PRINCIPAL CII > PRINCIPAL CII

CIMB-PRINCIPAL DAILY FIX > PRINCIPAL DAILY FIX

CIMB-PRINCIPAL EPIF > PRINCIPAL EPIF

CIMB-PRINCIPAL EQRMF > PRINCIPAL EQRMF

CIMB-PRINCIPAL EUEQ > PRINCIPAL EUEQ

CIMB-PRINCIPAL EUHY > PRINCIPAL EUHY

CIMB-PRINCIPAL FIRMF > PRINCIPAL FIRMF

CIMB-PRINCIPAL GBF > PRINCIPAL GBF

CIMB-PRINCIPAL GEQ > PRINCIPAL GEQ

CIMB-PRINCIPAL GIF > PRINCIPAL GIF

CIMB-PRINCIPAL GINNO-A > PRINCIPAL GINNO-A

CIMB-PRINCIPAL GMV-A > PRINCIPAL GMV-A

CIMB-PRINCIPAL GOLD8P > PRINCIPAL GOLD8P

CIMB-PRINCIPAL GOLD8P2 > PRINCIPAL GOLD8P2

CIMB-PRINCIPAL GOPP-A > PRINCIPAL GOPP-A

CIMB-PRINCIPAL GOPP-C > PRINCIPAL GOPP-C

CIMB-PRINCIPAL GPS-A > PRINCIPAL GPS-A

CIMB-PRINCIPAL GREITs-D > PRINCIPAL GREITs

CIMB-PRINCIPAL GSA > PRINCIPAL GSA

CIMB-PRINCIPAL GTR > PRINCIPAL GTR

CIMB-PRINCIPAL JEQ > PRINCIPAL JEQ

CIMB-PRINCIPAL KEQ > PRINCIPAL KEQ

CIMB-PRINCIPAL LTF > PRINCIPAL LTF

CIMB-PRINCIPAL PRMF > PRINCIPAL PRMF

CIMB-PRINCIPAL SET50 > PRINCIPAL SET50

CIMB-PRINCIPAL SIF > PRINCIPAL SIF

CIMB-PRINCIPAL TDIF-D > PRINCIPAL TDIF-D

CIMB-PRINCIPAL TREASURY > PRINCIPAL TREASURY

CIMB-PRINCIPAL VNEQ-A > PRINCIPAL VNEQ-A

CIMB-PRINCIPAL VNEQ-I > PRINCIPAL VNEQ-I

CIMB-PRINCIPAL iBALANCED-R > PRINCIPAL iBALANCED-R

CIMB-PRINCIPAL iDAILY-A > PRINCIPAL iDAILY-A

CIMB-PRINCIPAL iDAILY-C > PRINCIPAL iDAILY-C

CIMB-PRINCIPAL iDAILY-D > PRINCIPAL iDAILY-D

CIMB-PRINCIPAL iDAILY-I > PRINCIPAL iDAILY-I

CIMB-PRINCIPAL iDAILY-R > PRINCIPAL iDAILY-R

CIMB-PRINCIPAL iDIV-A > PRINCIPAL iDIV-A

CIMB-PRINCIPAL iDIV-C > PRINCIPAL iDIV-C

CIMB-PRINCIPAL iDIV-D > PRINCIPAL iDIV-D

CIMB-PRINCIPAL iDIV-R > PRINCIPAL iDIV-R

CIMB-PRINCIPAL iFIXED-A > PRINCIPAL iFIXED-A

CIMB-PRINCIPAL iFIXED-C > PRINCIPAL iFIXED-C

CIMB-PRINCIPAL iFIXED-R > PRINCIPAL iFIXED-R

CIMB-PRINCIPAL iGOLD-A > PRINCIPAL iGOLD-A

CIMB-PRINCIPAL iGOLD-R > PRINCIPAL iGOLD-R

CIMB-PRINCIPAL iPROP-A > PRINCIPAL iPROP-A

CIMB-PRINCIPAL iPROP-C > PRINCIPAL iPROP-C

CIMB-PRINCIPAL iPROP-D > PRINCIPAL iPROP-D

CIMB-PRINCIPAL iPROP-R > PRINCIPAL iPROP-R

CIMB-PRINCIPAL iPROPPLUS > PRINCIPAL iPROPPLUS

CIMB-PRINCIPAL iPROPRMF > PRINCIPAL iPROPRMF

CPAM APDE > PRINCIPAL APEQ

CPAM GSCEQ-R > PRINCIPAL GSCEQ-R

CPAM KOEQ > PRINCIPAL KOS

ถ้าท่านผู้ใช้มีการบันทึกกองทุนชื่อเก่าที่มีรายชื่อตามด้านบน  ให้ทำการ Copy Transactions เพื่อย้ายจากกองชื่อเก่าไปสู่ชื่อใหม่ ได้ด้วยตนเองนะครับ โดยให้ทำตามวิธีที่ผมเขียนบรรยายไว้แล้วใน blog นี้

หากยิ่งทำให้จบ คือ ย้ายให้เสร็จสิ้นยิ่งเร็วเท่าไร ก็ยิ่งดีนะครับ เพราะผมก็ยังปล่อยให้มีการ update ราคา NAV เข้าทั้งชื่อเก่าและชื่อใหม่ ไปจนถึงสิ้นปีนี้ครับ  ซึ่งถ้าพ้นสิ้นปีนี้ไปแล้ว พวกกองชื่อเก่าด้านบน จะไม่มีการ update NAV ใดๆ แล้วนะฮะ  เลยแนะนำว่า รีบ Copy Transactions ให้จบ ยิ่งเร็ว ยิ่งดีครับผม

ลองดูนะฮะ หากมีคำถามใดๆ เขียนมาตามช่องทาง Feedback ใน FIN App หรือ Facebook Page Inbox – https://www.facebook.com/fin.application/inbox/ ได้ตลอดเวลาครับผม 🙂

แนะนำฟีเจอร์ลับ ที่อาจจะได้ใช้ในบางกรณี ฟีเจอร์ Copy Transactions

29 July 2019 – ใน FIN มี feature หนึ่งครับ เอาไว้สำหรับ Copy Transactions (รายการซื้อขาย) จากกองหนึ่ง ไปสู่อีกกองหนึ่ง  โดยมีกรณีการใช้งานที่เฉพาะกิจเท่านั้นครับ จะไม่ได้เอาไว้ใช้สำหรับกรณีปกติทั่วไป วันนี้ใน blog นี้เลยจะมาเล่าถึงวัตถุประสงค์ และ วิธีการใช้ความสามารถนี้

Feature Copy Transactions นี้ไว้ใช้ตอนไหน ?

  • ใช้กรณีเดียวครับ คือตอนที่ กองทุนนั้นๆ มีการเปลี่ยนชื่อ เช่นจากชื่อ A ไปชื่อ B หรือยกตัวอย่างของจริงคือ  กองทุนชื่อเก่าชื่อ: TBGF8020   ชื่อใหม่: TW-E20
  • ระบบใน FIN ไม่ได้รองรับการเปลี่ยนชื่อกองทุนเหล่านี้ให้แก่ท่านผู้ใช้โดยอัตโนมัติครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า ผมไม่ต้องการสร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้ฮะ ที่ว่า เมื่อเปิดดู portfolio แล้ว พบกองชื่อใหม่ โดยที่ตนเองไม่รู้ หรือ ไม่แน่ใจว่า มาจากไหนหว่า
  • ทีนี้ เพื่อให้ผู้ใช้ ที่ต้องการ ปรับเปลี่ยนชื่อกองทุนใหม่ ผมเลยมี feature Copy Transactions ตรงนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้ ทำการ Copy รายการซื้อขายต่างๆ จากกองเก่า ไปสู่กองใหม่ ด้วยตนเอง นั่นเอง

 

วิธีการใช้งาน feature นี้ ?

Step-1:  เปิดเข้า FIN ไปที่หน้า Portfolio จากนั้นเลือกกองทุน ที่ต้องการให้เป็นกองทุนต้นทาง (Source) แล้วกดเข้าไปในหน้า Transaction Detail ของกองนั้นๆ ยกตัวอย่างภาพด้านล่าง คือ หน้า Transaction Detail ของกอง TCMFENJOY  (เป็นตัวอย่างเฉยๆ นะครับ กองนี้ไม่ได้มีการเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด)

IMG_3541
หน้า Transaction Detail ของกองทุนหนึ่งๆ

 

Step-2: ที่หน้านี้เอง ปุ่มข้างบนสุดด้านซ้ายปุ่มที่ 2 (ปุ่มที่เป็นรูป เอกสาร 2 ชุดซ้อนกัน) นั่นคือปุ่มสำหรับเรียก feature นี้ขึ้นมาให้ทำงานครับ กดได้เลยฮะ จะได้ภาพหน้าจอตามรูปด้านล่างนี้

IMG_3542
หน้าจอ Feature Copy Transactions

 

Step-3: ใส่ชื่อกองทุนใหม่ (ชื่อที่กองทุนนั้นเปลี่ยนชื่อ) เข้าไปครับ  จากนั้นกดปุ่ม Done   ณ จุดการใส่ชื่อกองใหม่ตรงนี้จะขึ้นกับระบบใน FIN ด้วยนะครับว่ารองรับชื่อกองทุนใหม่เหล่านั้นแล้วหรือยัง  เมื่อกดปุ่ม Done จะขึ้น prompt ถามอีกครั้ง ตามรูปด้านล่างนี้

IMG_3543
หน้าจอถามเพื่อ Confirm ก่อนการ Copy Transaction จากต้นทาง ไป ปลายทาง

Step-4: การขึ้นถามแบบนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า กองปลายทางนั้น ยังไม่มีอยู่ใน portfolio นะครับ  เพราะถ้าหากมี กองปลายทาง (หรือกองชื่อใหม่) อยู่ใน portfolio อยู่แล้ว ไม่ว่าจะมาจากไหนก็ตาม   เมื่อกด Confirm ในหน้านี้ไปแล้ว  รายการใดๆ ของกองปลายทางนั้นที่มีอยู่ ณ เวลาก่อนที่จะกด Confirm จะโดนลบทิ้งทั้งหมดนะครับ  เพื่อทำการ Copy จากกองต้นทาง นี้เข้าไปใหม่  เป็นการเขียนทับโดยสมบูรณ์นะครับผม

เมื่อกด Confirm แล้วรอสักครู่ครับ ก็จะจบงานฮะ  จากนั้นกลับไปที่หน้า Portfolio ก็จะเห็น ทั้ง กองเก่า และ กองใหม่นะครับ  เมื่อท่านผู้ใช้ตรวจสอบ ยอดเงิน หรือ จำนวนหน่วยต่างๆ ได้เป๊ะ ครบถ้วนแล้ว ก็ค่อยลบกองเก่า ออกจาก portfolio ได้ครับผม (วิธีการลบกองออกจาก portfolio ให้ใช้นิ้วตวัดไปทางซ้าย หรือจะเรียกว่า swipe-left บนแถวของกองที่ต้องการลบนะครับ จะขึ้นเมนู เพื่อให้ Delete และถาม Confirm อีกครั้ง)

Feature นี้ก็จะทำงานประมาณนี้นะครับโดยมีกรณีการใช้งานที่จำกัดครับ โดยส่วนใหญ่เอาไว้ใช้ Copy Transactions จากกองทุนที่มีการเปลี่ยนชื่อ ไปเป็นชื่อใหม่ ซึ่งระบบใน FIN จะไม่มีการเปลี่ยนชื่อให้อัตโนมัติด้วยเหตุผลที่อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นท่านผู้ใช้สามารถใช้ความสามารถนี้จัดการเรื่องนี้ได้ด้วยตนเองทันที

ลองดูครับผม หากมีคำถามอื่นใด เขียนมาในหน้า Feedback ใน FIN ได้เลยนะฮะ 🙂

FIN Feature ใหม่ Trending Asset สำหรับดูความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ลงทุนต่างๆแบบง่าย จบได้ในทัชเดียว

29 July 2019 – FIN App กองทุนรวม version 3.10 ล่าสุดนั้นมีความสามารถใหม่ ที่ยังอยู่ในช่วงทดลอง (หรือที่เรียกว่า เบต้าเทสติ้ง)  Feature ใหม่นี้ผมเรียกว่า Trending Asset ใน blog นี้จะมาเล่าถึง แนวคิด และ ผลลัพธ์ของความสามารถใหม่นี้กันนะครับ

ทำไมต้องมีฟีเจอร์นี้ ?

  • ผมพัฒนา FIN และนำขึ้น Apple Appstore มาตั้งแต่ปี 2015 ซึ่ง จะมีฟีเจอร์ดั้งเดิมคือ Fund Rank ทีนี้ด้วย Fund Rank นั้น คุณสามารถที่จะกรองประเภทของกองทุนรวม (Fund Type) และ เลือกเวลาที่พิจารณาย้อนหลังได้ (Timeframe)  ก็จะเห็นกองทุนประเภทนั้นๆ เรียงตามลำดับ Total Return ตามช่วงเวลาต่างๆ  อันนี้คือความสามารถพื้นฐานปกติของ Fund Rank   ซึ่งคุณจะต้องทราบ Fund Type หรือผมจะเรียกว่า Investment Asset Type ที่สนใจก่อน ถึงจะกดเลือกเข้าไปดูว่ามีกองทุนใด ที่น่าสนใจบ้าง
  • แต่ทีนี้โดยส่วนตัวผมเองนั้น   ในหลายๆ ครั้ง ผมต้องการทราบว่า  ณ ปัจจุบันนี้  มี Asset Type ใดบ้าง ที่กำลังมี Trending เกิดขึ้นอยู่ ซึ่ง Trending คือ แนวโน้ม  นั่นแปลได้ว่า เป็นไปได้ทั้งแนวโน้มพุ่งขึ้น และ พุ่งลง
  • ซึ่งถ้าใช้ Fund Rank ผมจะต้องกดดู Fund Type หลายประเภทเยอะมาก และ พิจารณาด้วยหลายช่วงเวลา (Timeframe) ซึ่งเมื่อกด Fund Rank เยอะๆ แล้ว จะมึนครับ และจำไม่ได้ เพราะข้อมูลเยอะ  ซึ่งเลยเป็นที่มาที่ผมจะต้องออกแบบพัฒนาฟีเจอร์ใหม่นี้ขึ้นมา  เลยตั้งชื่อฟีเจอร์ใหม่นี้ว่า Trending Asset นั่นเอง โดยกดทัชเดียว เห็นเลยครับ ว่า ณ เวลานี้ อะไรกำลังพุ่งขึ้นหรือลง และ เทียบกับ Asset Type อื่นๆ โดดเด่นฉีกจากกลุ่มขนาดไหน
  • แต่ทั้งหมดนี้ ฟีเจอร์ใหม่นี้ ยังอยู่ในช่วงของการทดลองนะครับ ซึ่งผมเปิดรับ user feedback ให้เขียนเข้ามา เพื่อให้ความเห็นได้ฮะ  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป  รวมถึงขอสงวนสิทธิ์ที่จะตัดสินใจว่าจะพัฒนาต่อไป หรือว่า หยุดการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่นี้ด้วยเช่นกันนะครับผม 🙂

 

หน้าตา Feature ใหม่นี้เป็นอย่างไร ลองดูได้จากภาพด้านล่างนี้

IMG_3331
FIN Trending Asset @ 29 June 2019

ภาพด้านบนนี้ เป็นการกดดู Trending Asset ณ ช่วงประมาณวันที่ 29 June 2019 ซึ่งช่วงจังหวะนั้น  ตลาดหุ้นไทย กำลังดีดตัวพุ่งทะยาน และ ช่วงเวลานั้น กลุ่ม ทองคำ และ Property Fund ก็พุ่งทะยานเช่นกัน ข้อมูลเหล่านี้ เราจะกดดูได้ทันที และ รู้ทันที ว่า ณ ช่วงเวลานั้นๆ  กลุ่ม Investment Asset ใด มีการเคลื่อนตัวเป็นอย่างไร กลุ่มไหนกำลังเด่น (ทั้งขึ้น และ ลง)

ต่อด้วยอีกหนึ่งตัวอย่าง ครับ ภาพด้านล่างนี้

IMG_3402
FIN Trending Asset @ 14 July 2019

ภาพด้านบนคือ ผลลัพธ์เมื่อกดดู Trending Asset ณ วันที่ 14 July 2019  ซึ่งจะพบว่า ณ วันนั้นจากข้อมูลที่มีอยู่ Asset Type กลุ่มที่ลงทุนในเทคโนโลยี นั้นพุ่งแรงมาก  และตามด้วยกลุ่มของ Property Fund ที่ พุ่งฉีกขาดออกจาก กลุ่มหุ้นไทย ซึ่งหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ลดความร้อนแรงลง เป็น Sideway หลังจากขึ้นมาแรง แต่แนวโน้มก็ยังใช้ได้ดีอยู่  ย้ำนะครับ ข้อมูลเหล่านี้พิจารณาจากข้อมูลในระบบ ณ วันที่ 14 July 2019 นั่นเอง

เบื้องหลังการคำนวณ Trending Asset คืออะไร?

เป็นการคำนวณโดยอาศัยศาสตร์ความรู้ด้าน Data Science ที่โดยส่วนตัวผมกำลังศึกษาอยู่  แต่ทั้งหมดนี้เป็นการคำนวณโดยใช้ข้อมูลในอดีตในหลายๆ ระยะเวลาพิจารณา รวมถึงใช้ข้อมูลในอดีตในหลายสัปดาห์มาประมวลผล  เพื่อให้เราเห็น Insight สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ ณ เวลาปัจจุบัน ที่เรากำลังกดดู Trending Asset ตรงนี้นะครับ   ขอย้ำนะครับข้อมูลตรงนี้ไม่ได้บ่งบอกอนาคต ว่ามันจะกำลังเป็นขาขึ้น หรือ กำลังจะเป็นขาลง  เพราะการ Prediction ลักษณะนั้น ถ้าผมจะพัฒนาขึ้นมาจริงๆ จะต้องใช้ศาสตร์ความรู้ด้าน Machine Learning (AI แขนงหนึ่ง) มาสร้างโมเดลการทำนาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยฮะ กับการสร้างโมเดลทำนาย สิ่งที่จริงๆ “อาจจะ” ไม่สามารถทำนายได้ 🙂  หรือ “อาจจะ” ทำนายได้แต่ ความแม่นยำถูกต้องไม่มีทางเป็น 100% ได้ครับผม

การคำนวณ Score ต่างๆ ที่จะเห็นตัวเลขทางด้านขวาในรูป ตรงส่วนของตารางนั้น   เป็นการคำนวณแบบ Relative Score นะครับ  นั่นแปลว่า  ค่า Score จริงๆ ไม่ได้มีความหมายในเชิงจำนวนหน่วยของ Score ฮะ แต่เวลาดู Score ของ Asset Type ใดนั้น ให้ดูเทียบกับ Asset Type อื่นๆ ครับ ว่ามัน เกาะกลุ่ม หรือฉีกตัวขึ้น หรือ ฉีกตัวลง ขนาดไหนอย่างไร  เราจะเปรียบเทียบกันระหว่าง Asset Type ได้ นั่นเอง

ค่า Score นั้นหากเป็นตัวเลขบวกยิ่งมาก (เมื่อเทียบกับของ Asset Type อื่นๆ) นั่นแปลว่า ในเวลานี้ (เวลาที่กดดูใน Trending Asset)  Asset Type นั้นๆ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในทางตรงกันข้ามนะครับ หากเจอตัวเลขลบ (ติดลบ) ยิ่งมากขึ้น แสดงว่า มีปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง   และในกลุ่มที่มีค่า Score ใกล้ๆ 0 (ทั้งทางบวก และ ทางลบ) แสดงว่า อยู่ในจุดที่ แรงบวก หรือ แรงลบ ลดลงครับ (แผ่ว)  อาจจะเข้าสู่สภาวะ sideway นิ่งๆ พักตัว ลดความร้อนแรงลง หรืออีกนัยยะนึงคือช่วงเวลานี้ๆ Asset Type นั้นๆไม่ได้มีการเคลื่อนที่ของราคาที่รุนแรงฮะ เนิบๆ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป 🙂

สำหรับวิธีการเข้าไปใช้ Trending Asset นั้น สามารถเข้าผ่านหน้าจอ Fund Rank ได้เลยนะครับ ตามตัวอย่างหน้าจอรูปด้านล่างนี้ครับ  จะมีปุ่ม Trending Asset อยู่ทางด้านบนนะครับ

IMG_3421
New Fund Rank User Interface

สรุปปิดท้าย ผมได้ประโยชน์อะไรจากฟีเจอร์ Trending Asset ใหม่นี้ ?

  • ผม “คาดว่า” ฟีเจอร์นี้จะทำให้ผม รู้การเคลื่อนไหวของ Investment Asset Type ต่างๆ ทั่วโลก (ที่ FIN รองรับ) ได้รวดเร็วขึ้นครับ   เชื่อมั๊ยครับ ว่าที่ผ่านมาโดยส่วนตัวผมเองนั้น ไม่เคยลงทุนใน Property Fund เลยครับ  จนมาเห็นว่ามันน่าสนใจมาก และ พลาดโอกาสมานาน ก็ตอนที่เปิด Trending Asset ดูนี่ล่ะฮะ  🙂
  • เมื่อผมรู้ ความเคลื่อนไหวของประเภทสินทรัพย์ต่างๆ แล้ว ค่อยนำมาประกอบการพิจารณา อัพเดทแผนการลงทุนของผมเองต่อไปได้นั่นเอง  เหมือนขอใช้ Insight จากจุดนี้มาออกแบบ theme การลงทุนของตนเอง ในแต่ละช่วงเวลานั่นเอง   เพราะก่อนหน้านี้กว่าจะรู้ความเคลื่อนไหวของ Asset Type ต่างๆ  ต้องมานั่งกดในหน้า Fund Rank ซึ่งใช้เวลาเยอะ และ มึนด้วยนะครับ 5555+

แต่ย้ำนะครับ ว่า ฟีเจอร์นี้ไม่ได้บอก อนาคตของ Investment Asset ใดๆ  แต่มันแค่ วัดค่า (ผ่านการ scoring) ออกมาโดยคำนวณจากข้อมูลในอดีต และ สรุปออกมา ณ จุดที่เรากดใช้ Trending Asset ครับ ทำให้ประหยัดเวลา ไม่ต้องไปนั่งเคาะใน Fund Rank หลายรอบครับ

อ้อ ข้อมูล Trending Asset ตรงนี้จะมีการคำนวณและ Update ทุกๆ วันอังคาร ยาวไปจนถึงวันเสาร์  (ถ้าเป็นสัปดาห์ปกติ ที่ไม่มีวันหยุดคั่นใดๆ) เวลาประมาณ 2.30pm นะครับผม

และท้ายสุดนี้ ฟีเจอร์นี้ก็ยังอยู่ในช่วงการทดลอง และเฝ้าดูจากทางผม และ user ที่กำลังจะได้ใช้ฟีเจอร์ใหม่นี้ครับ หากมี feedback ใดๆ เขียนเข้ามากันได้ตลอดนะครับ  เพื่อมาร่วมกำหนดทิศทาง roadmap ของฟีเจอร์ประเภทนี้ในอนาคตภายใน FIN App ครับ  ซึ่งผมขอสงวนสิทธิ์ที่จะตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับ อนาคตของฟีเจอร์ Trending Asset นี้นะครับ  กล่าวโดยรวมคือ ถ้ามันมีประโยชน์ก็ไปต่อครับ  แต่ถ้าดูแล้วไม่ได้ช่วยอะไรหรือไม่มีประโยชน์ ก็คงตัดออกจาก FIN ครับ  เลยขอใช้คำว่าเป็น ฟีเจอร์ เบต้าเทสติ้ง นั่นเอง

หากอ่านถึงจุดนี้ ต้องขอขอบคุณท่านผู้ใช้มากนะครับ 🙂

อธิบายคำย่อต่างๆ ของ FIN App หน้า Fund Rank

4 May 2019 – บทความนี้จะอธิบายถึงความหมายของคำย่อต่างๆ ในหน้า Fund Rank ของ FIN App นะครับ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 แกน คือ แกนแนวตั้ง (คำย่อต่างๆ ในเชิงประเภทกองทุน) และ แนวนอน (คำย่อต่างๆ ในเชิงช่วงเวลาย้อนหลัง)

แกนแนวตั้ง ผู้ใช้สามารถกรองกองทุนตามหมวดต่างๆ ที่ปรากฎในแกนแนวตั้งนี้ได้

  • All – ไม่กรอง คือให้แสดงทุกกองทุน ไม่แบ่งประเภท
  • LTF – ให้แสดงเฉพาะกองทุนประเภท LTF
  • RMF – ให้แสดงเฉพาะกองทุนประเภท RMF
    • ถ้าแตะนิ้วค้างไว้ จะขึ้นประเภทกองทุน RMF ที่เป็นประเภทย่อยให้เลือกได้
    • All – ไม่กรอง ให้แสดงทุกกองทุน RMF
    • MMF – ให้แสดงเฉพาะกองทุนกลุ่ม RMF ประเภทที่ลงทุนใน Money Market Fund (MMF)
    • FIX – ให้แสดงเฉพาะกองทุนกลุ่ม RMF ประเภทที่ลงทุนใน ตราสารหนี้ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
    • EQ – ให้แสดงเฉพาะกองทุนกลุ่ม RMF ประเภทที่ลงทุนใน หุ้นไทย (Thai Equity) เป็นหลัก
    • MIX – ให้แสดงเฉพาะกองทุนกลุ่ม RMF ประเภทที่กองทุนผสม (ทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ)
    • FIF – ให้แสดงเฉพาะกองทุนกลุ่ม RMF ประเภทที่ลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก
  • EQ – ให้แสดงเฉพาะกองทุนประเภทที่ลงทุนในหุ้นไทย (Thai Equity) แบบกระจายทั่วไป (ไม่รวมกลุ่มที่ลงทุนแบบเฉพาะอุตสาหกรรม)
  • FIF – ให้แสดงเฉพาะกองทุนประเภทที่ลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นหลัก
    • ถ้าแตะนิ้วค้างไว้จะขึ้นประเภทย่อยให้เลือกได้
    • All – ไม่กรอง ให้แสดงทุกกองทุน ที่ลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ เป็นหลัก
    • FIX – ให้แสดงเฉพาะกองทุน ที่ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ
    • EQ – ให้แสดงเฉพาะกองทุน ที่ลงทุนในตราสารทุน หรือ หุ้นต่างประเทศ (ไม่รวมกลุ่มที่ลงทุนต่างประเทศแบบเฉพาะอุตสาหกรรม)
    • MIX – ให้แสดงเฉพาะกองทุน ประเภทผสม (ทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ต่างประเทศ)
  • FIX – ให้แสดงเฉพาะกองทุนประเภทตราสารหนี้
    • ถ้าแตะนิ้วค้างไว้จะขึ้นประเภทย่อยให้เลือกได้
    • All – ไม่กรอง ให้แสดงทุกกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ เป็นหลัก
    • Thai – ให้แสดงเฉพาะกองทุน ที่ลงทุนในตราสารหนี้ในไทย เป็นหลัก
    • Short – ให้แสดงเฉพาะกองทุน ที่ลงทุนในตราสารหนี้แบบระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี)
    • Mid – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้แบบระยะกลาง (ระยะ 1-3 ปี)
    • Long – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้แบบระยะยาว (เกินกว่า 3 ปี)
  • MMF – ให้แสดงเฉพาะกองทุนประเภทตลาดเงิน (Money Market Fund)
  • MIX – ให้แสดงเฉพาะกองทุนรวมผสม
  • GHC – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ Health Care
  • PRP – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับ Property
  • ENY – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ พลังงาน
  • GLD – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับ ทองคำ
  • FIN – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ การเงิน
  • TECH – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ เทคโนโลยี
  • INFRA – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ โครงสร้างพื้นฐาน
  • MISC – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่จัดอยู่ในกลุ่ม Miscellaneous ที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ชัดเจน
  • FOF – ให้แสดงเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในลักษณะ Fund of Funds ที่จะไปลงทุนในกองทุนรวมอื่นอีกทอด
  • INDX – ให้แสดงเฉพาะกองทุนประเภท กองทุนรวมดัชนี  ที่อ้างอิงดัชนีของตลาดต่างๆ เช่น SET50, S&P500, NASDAQ100 รวมถึง ETF ต่างประเทศ เป็นต้น โดยมีกลยุทธ์การลงทุนแบบ passive management
  • ETF – ให้แสดงเฉพาะกองทุนประเภท ETF (Exchange Trade Fund) ที่สามารถลงทุนได้โดยตรงภายในประเทศไทยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

IMG_2813

สำหรับคำย่อต่างๆ แกนแนวนอน นั้นจะเป็นคำย่อที่เกี่ยวกับ ช่วงเวลาการพิจารณา performance ของกองทุนรวมต่างๆ ย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 วัน ย้อนหลังไปจนถึง 5 ปี เทียบกับ วันปัจจุบันที่มีค่า NAV ล่าสุด ดังนี้

  • 1D – ดู performance ของกองทุนรวมต่างๆ โดยพิจารณาที่ระยะเวลาย้อนหลัง 1 วัน
  • 1W – ดู performance ของกองทุนรวมต่างๆ โดยพิจารณาที่ระยะเวลาย้อนหลัง 1 สัปดาห์
  • 2W – ดู performance ของกองทุนรวมต่างๆ โดยพิจารณาที่ระยะเวลาย้อนหลัง 2 สัปดาห์
  • YTD – ดู performance ของกองทุนรวมต่างๆ โดยพิจารณาที่ระยะเวลาย้อนหลังจากวันปัจจุบันย้อนหลังไปที่ ค่า NAV ของวันทำการวันสุดท้ายของปีก่อนหน้า (สิ้นปีที่แล้ว)
  • 1M – ดู performance ของกองทุนรวมต่างๆ โดยพิจารณาที่ระยะเวลาย้อนหลัง 1 เดือน
  • 3M – ดู performance ของกองทุนรวมต่างๆ โดยพิจารณาที่ระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน
  • 6M – ดู performance ของกองทุนรวมต่างๆ โดยพิจารณาที่ระยะเวลาย้อนหลัง 6 เดือน
  • 1Y – ดู performance ของกองทุนรวมต่างๆ โดยพิจารณาที่ระยะเวลาย้อนหลัง 1 ปี
  • 3Y – ดู performance ของกองทุนรวมต่างๆ โดยพิจารณาที่ระยะเวลาย้อนหลัง 3 ปี
  • 5Y – ดู performance ของกองทุนรวมต่างๆ โดยพิจารณาที่ระยะเวลาย้อนหลัง 5 ปี

ช่วงเดือน March 2019 ที่ผ่านมา ผมเพิ่งมีการปรับเพิ่มในส่วนของประเภทกองทุนต่างๆ ซึ่งประเภทกองใหม่ๆ มาอีกหลายประเภท โดยจะมีให้เลือกกรองได้ใน FIN App ใน  version ที่กำลังจะ update ขึ้น Appstore ในเร็ววันนี้นะครับ (ช่วงเดือน April 2019)   ถ้าตอนนี้เปิด FIN App แล้วยังไม่เห็นกองทุนประเภทใหม่ที่สามารถกรองได้ อย่าเพิ่งแปลกใจฮะ 🙂

หากมีคำถามอื่นใด เขียนมาได้ในหน้า Feedback ภายใน FIN App หรือ อีเมลมาได้นะครับ ที่ support@fin.cool ครับผม ขอบคุณครับ

รู้จัก Fund Compare Feature ที่สำคัญของ FIN App

อย่างที่ทราบกันดีครับว่า FIN App มีข้อมูลกองทุนอยู่จำนวนมาก หลากหลายมิติ และ หลากหลายประเภทข้อมูลครับ Feature “Fund Compare” จะเป็นความสามารถที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ทำการเปรียบเทียบข้อมูลเหล่านั้นได้ ง่าย สะดวก และ รวดเร็ว ในบทความนี้จะนำภาพตัวอย่าง และ วิธีใช้งานของความสามารถนี้มาแชร์ให้เห็นกันครับผม

หากผู้ใช้ upgrade FIN เป็น version 3.8 ล่าสุด  จะเห็นหน้าจอของหน้า Fund Rank ตามรูปด้านล่าง ซึ่งจะมีปุ่มสีส้มอยู่ที่มุมด้านขวาด้านล่าง  ปุ่มนี้เป็นความสามารถใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามา เพื่อช่วยทำเรื่อง Fund Compare ให้สะดวกขึ้นอย่างมาก

IMG_9750.PNG

เมื่อกดปุ่มสีส้มแล้ว ผู้ใช้สามารถที่จะเลือก กองทุนใดๆ ก็ได้ ที่อยู่ในหน้า Fund Rank หน้านี้ โดยสามารถเลือก ประเภท และ ช่วงเวลาย้อนหลังต่างๆ ได้หมดนะครับ เลือกได้อย่างเต็มรูปแบบและอิสระ และ เมื่อพอใจแล้ว ก็ที่ปุ่มสีส้มนี้ จะนับจำนวนกองทุนที่เลือกไว้ครับ (ภาพตัวอย่างนี้คือเลือกไป 6 กองทุน) กดเข้าไปอีกรอบจะขึ้นเมนูถามเพิ่มเติม

IMG_9738.PNG

เมื่อเจอขึ้นถามก็จะมี 3 เมนูย่อยครับ เมนูบนสุดคือ เลือกเพื่อสั่งให้เปิด Fund Compare ส่วนเมนูถัดมาคือให้ Reset การเลือกกองทุนก่อนหน้านี้ เพื่อที่จะเลือกใหม่ หรือ ไม่เลือกแล้วก็ตาม (ล้างตระกร้ากองทุนที่เลือกไว้)  และเมนูสุดท้ายคือ ปิดหน้าจอนี้ไปก่อน เพราะยังอยากเลือกกองทุนอื่นๆ เพิ่มเติม

IMG_9739.PNG

เมื่อเข้าหน้า Fund Compare ก็จะมีหน้าจอตัวอย่างตามภาพด้านล่างนี้ครับ  โดยความสามารถ Fund Compare นั้น สามารถ เปรียบเทียบข้อมูลกองทุนต่างๆ ได้ใน 3 โหมดใหญ่ๆ

  1. โหมดที่ 1 คือ เทียบในเชิง Fund Performance ในช่วงเวลาต่างๆ ย้อนหลังครับ เช่นที่ระยะ 5 ปี, 3 ปี, 1 ปี, 6 เดือน หรืออื่นๆ ตามที่มีข้อมูล
  2. โหมดที่ 2 คือ เทียบแบบ Shot-by-Shot เลยครับ เป็นการสมมติว่า ถ้าเราเริ่มลงทุนกองที่เราต้องการเปรียบเทียบพร้อมกัน ในวันที่เริ่มต้น (ซึ่งเรากำหนดได้)  จนถึง วันสิ้นสุด (ซึ่งเราก็กำหนดได้เช่นกัน) ว่ากองไหน มีการวิ่งขึ้นลงของ Value อย่างไรบ้าง
  3. โหมดที่ 3 คือ เทียบในรูปแบบตารางครับ โดยนำค่าข้อมูลต่างๆ ของแต่ละกอง มาเทียบกันในตาราง 2 มิติ

วิธีการสับโหมดการเปรียบเทียบนี้ หากดูจากรูปด้านล่างนี้  ที่ด้านบนมุมขวาของหน้าจอ จะเห็นรูปลูกศร ซ้ายขวา นะครับ กดได้เลยฮะ จะเป็นการสับโหมดการเปรียบเทียบไปใน 3 โหมด  หรือ กดปุ่มด้านบน ตรงกลาง ก็ได้เช่นกัน  (ปุ่มที่เขียนว่า Compare: Period ตามรูปด้านล่าง)  ก็จะขึ้นมาให้เลือกเลยฮะ ว่าจะเทียบในโหมดใด

IMG_9740.PNG

ซึ่ง ด้านล่างของหน้าจอนี้ เราสามารถเลือกกองทุนที่เราต้องการ เปรียบเทียบได้ครับ ว่าจะนำกองใด มาเทียบบ้าง ไม่จำเป็นที่จะต้องเปิดทุกกองเทียบพร้อมกันเวลาเดียวกันนะครับ เพราะข้อมูลคงจะแสดงผลมากเลยทีเดียว ลองดูภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ จะเป็นการเปรียบเทียบ 4 กอง ได้แก่ UOBLTF, MIF-LTF, JB25 LTF และ ABLTF

IMG_9741.PNG

ถัดมาครับ ลองเปลี่ยนเป็นโหมดการเปรียบเทียบแบบ  Shot by Shot โดยสมมติว่าเราลงทุนทั้ง 4 กองนี้พร้อมกัน วันที่ 21 June 2018 ยาวไปจนถึงวันนี้ (19 Sep 2018) นะครับ  วันที่นี่เราสามารถใช้นิ้วแต เพื่อปรับเปลี่ยนวันที่ได้อย่างอิสระ  การเปรียบเทียบในโหมดนี้เหมือนนำกองทุนทั้ง 4 กองมาวิ่งแข่งกัน ณ จุดเริ่มต้นเดียวกันครับ โดยจากภาพตัวอย่างนี้ เราจะเห็นคร่าวๆ แล้วว่า  กองสีม่วง กับ สีฟ้า นี่วิ่งดีกว่า อีก 2 สีที่เหลือ  ในช่วงเวลาที่เราลองจำลองการแข่งขันตรงนี้นะครับ โดยในแกน Y นั้นจะคิดเป็น %Profit (หรือ %Loss) โดยรวมเรื่องของ NAV Change + Dividend เข้าไปหมดแล้ว (ถ้ากองไหนมี Dividend)

IMG_9742.PNG

ซึ่งจุดเริ่มต้น (Begin) และ จุดสิ้นสุด (End) ของการเปรียบเทียบนั้นค่อนข้างสำคัญนะครับ เพราะมันคือ ช่วงเวลาย้อนหลังที่เราต้องการพิจารณานั่นเอง  อย่างภาพด้านบนนั้นผมจะเทียบแค่ 3 เดือนย้อนหลังครับ แต่ภาพด้านล่างนี้ ผมเทียบที่ 1 ปีย้อนหลัง จะเห็นว่า กราฟที่ได้ก็คนละแบบเช่นกัน เพราะจุดเริ่มต้นมันไม่เท่ากัน ต้นทุนก็แตกต่างกันครับ  เราเลยต้องเลือกเวลาพิจารณาให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เราต้องการเทียบ

IMG_9744.PNG

ส่วนโหมดการเปรียบเทียบในรูปแบบตารางนั้น จะมีตัวอย่างหน้าจอตามรูปด้านล่างนี้ครับ เป็นตาราง 2 มิติที่จะ Pin ชื่อกองทุนไว้ด้านบน และ ข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบไว้ด้านซ้ายนะครับ เราสามารถ scroll ไปได้ในทั้ง 2 ทิศทาง (ต้องลองใช้ดูครับ)

IMG_9745.PNG

ถ้า scroll ลงมาด้านล่าง จะเห็นการเปรียบเทียบด้าน Absolute Return และ Max Drawdown (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Drawdown) รวมถึงสัดส่วนระหว่าง Absolute Return และ Max Drawdown  ด้วยเช่นกัน (ที่เขียนเป็นตัวอักษรสีเหลืองว่า Return/MDD @ Timeframe ต่างๆ)  ซึ่งจุดนี้ ขอย้ำนะครับ ว่า ผมสังเคราะห์ field ข้อมูลของการนำ Absolute Return มาหารกับ Max Drawdown (เอาค่า Max Drawdown แบบที่ไม่ใช่ค่าติดลบมาใช้นะครับ) ตรงนี้ เป็นแบบ simple math calculation เพื่ออำนวยความสะดวกในการเทียบเท่านั้นนะครับ มันจะไม่ใช่ Ratio ในกลุ่มที่เรียกว่า Risk Adjusted Return  ดังนั้นแล้ว การนำข้อมูลนี้ไปใช้ตัดสินใจใดๆ นั้น ผมยังคงขอย้ำว่า ให้ตรวจสอบจากหลายๆ แหล่งข้อมูล ก่อนการตัดสินใจลงทุนใดๆ ผมสร้าง FIN มาเพื่อเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกเท่านั้น เรื่องความถูกต้องของข้อมูลใดๆ นั้น นักลงทุนยังคงต้อง พิจารณาไตร่ตรองอย่างระมัดระวังด้วยตนเอง ครับ ผมไม่สามารถรับประกันความถูกต้องของข้อมูลใดๆ ได้ นะฮะ ตามที่เขียนไว้ (อ้างอิงตาม FIN App Term of Service)

IMG_9746.PNG

สุดท้ายครับ หน้า Fund Compare ตรงนี้ ผมมี Tip แนะนำอีกนิดนึงคือ  กรณีที่ต้องการเปิดดูหน้า Fund Profile ของแต่ละกองทุนตรงนี้  ผู้ใช้สามารถใช้นิ้ว กดจิ้มค้างไว้ (หรือที่เรียกว่า Long press gesture) ตรงชื่อ กองทุนครับ  ทั้งชื่อที่หัวตารางด้านบน  หรือ ชื่อด้านล่าง ได้หมดนะฮะ  แล้ว FIN จะเปิดหน้า Fund Profile ขึ้นมาแสดงผลให้ได้ครับ

หวังว่าความสามารถ Fund Compare นี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้นะครับ โดยความสามารถนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของ FIN Premium Service ด้วยเช่นกัน  ถามว่าถ้าไม่มี Feature นี้ยังสามารถเปรียบเทียบได้หรือไม่  ก็ได้ครับ แต่ว่าคงต้องหากระดาษมาจดนะฮะ  ซึ่งก็ไม่สะดวกเท่าไรนะครับและล่าช้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้วผมเลยใช้เวลาสร้างความสามารถ Fund Compare ในหลายมิติตรงนี้ขึ้นมาเพื่อ ลดเวลา ทำให้มันสะดวกต่อผู้ใช้ และน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ครับ 🙂

 

 

 

 

ทำความรู้จักค่า Drawdown และการนำมาประเมินความเสี่ยงของการลงทุน

ตั้งแต่ Fund Factsheet ของกองทุนรวมแบบใหม่ถูกนำมาใช้  ภายในนั้นจะมีข้อมูลที่น่าสนใจอยู่ข้อมูลหนึ่ง ที่เรียกว่า Maximum Drawdown ซึ่งภาษาไทยจะเรียกว่า “ผลขาดทุนสูงสุด” ในรอบระยะเวลาที่สังเกตที่ผ่านมา ค่านี้จะแสดงผลเป็นค่าติดลบเสมอครับ โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์  ค่านี้จะเอาไว้ใช้ประเมินความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่เรากำลังพิจารณาลงทุนครับ   ในบทความนี้จะอธิบายว่า ทำไมค่า Maximum DrawDown นี้ มันถึงดูเข้าใจง่ายกว่า ค่าบ่งชี้ความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่เราลงทุนค่าอื่นๆ เช่น SD (Standard Deviation) หรืออื่นๆ (คือผม มองว่ามันเข้าใจง่ายนะครับ คนอื่นๆ อาจจะมองตรงข้ามก็ได้นะ 555+)

เริ่มต้นชี้ให้เห็นเลยครับ ว่าค่า Drawdown นี้มันนิยามเป็นอย่างไร ดูจากภาพ chart ด้านล่างนี้จะง่ายสุดนะครับ ปกติ มูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ จะเปลี่ยนไปตามเวลา  แกน X คือ แกนของเวลา  แกน Y คือ แกนของ Net Asset Value ของสินทรัพย์นั้นๆ  จุดที่เกิด Drawdown คือ จุดที่อยู่ในภาพ สีแดงเข้มๆ ครับ

drawdown
ภาพจาก http://cdar.berkeley.edu/researcharea/drawdown-risk/

นิยามของ Drawdown คือ  ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นที่เรากำลังสังเกตดูย้อนหลังอยู่นั้น ราคาของสินทรัพย์นั้นๆ มีการปรับตัวลดลงต่ำสุด จากจุดสูงสุดที่ผ่านมา เท่าไรบ้างโดยจะคิดเป็นเปอร์เซ็นนะครับ  โดยสูตรการคำนวณคือ  เอา ( Valley Value – Peak Value ) หารด้วย Peak Value อีกที จากนั้นคูณด้วย 100 เพื่อให้ได้ค่าเปอร์เซ็นต์ออกมา สูตรนี้ยังไงก็ได้ค่า ติดลบ นะครับ

( (Valley Value – Peak Value) / Peak Value ) * 100.0

ถ้ามองข้อมูลอดีตย้อนหลัง 1 ปี , 3 ปี หรือ 5 ปี นั้น เราจะเห็นจุด Drawdown มากมายแน่นอนครับ ยกเว้นสินทรัพย์ประเภทที่มีแต่มูลค่าขึ้นตลอดนะครับ เช่นกลุ่ม Money Market Fund นะครับ อันนั้นน่าจะขึ้นตลอด แทบจะไม่มีค่า Drawdown ให้คำนวณ  ทีนี้เมื่อมีจุด Drawdown จำนวนมาก  จุดที่เราสนใจจริงๆ คือ  ในอดีตของสินทรัพย์ตัวนี้ มีจุด Drawdown สูงสุดอยู่ที่เท่าไร นั่นเอง หรือที่เรียกว่า Maximum Drawdown  ถ้าดูจาก Chart ด้านบน ก็จะเห็นฮะว่า  small drawdown นั้น มีขนาดเล็กกว่า  large drawdown นั่นเอง  ซึ่งจากรูปด้านบนนี้  large drawdown ตรงนั้นคือค่า Maximum Drawdown นั่นเอง

นั่นแปลว่า  ถ้าเรามองข้อมูลอดีตของกองทุนหรือหุ้นตัวนี้ๆ แล้ว  เราเห็นช่วงที่ขาดทุนสูงสุดกี่เปอร์เซ็นต์ นั้นจะทำให้เราเข้าใจความเสี่ยงได้ดีขึ้นมากพอสมควร  (เมื่อเทียบกับค่า SD: Standard Deviation) เพราะว่า เราจะเข้าใจค่า % Drawdown นั่นเอง ว่า ถ้ามันมีค่าอยู่ที่ -20%  นั่นแปลว่า  ถ้าเราลงทุนที่จุด Peak จำนวนเงิน 100 บาท และ เจอภาวะ Drawdown ที่ -20%  นั่นแปลว่า ที่จุดต่ำสุด เงินลงทุนเราจะเหลืออยู่ที่ 80 บาท นั่นเอง  คือตัวเลขค่านี้มันจะทำให้เราคำนวณออกมาเป็นจำนวนเงินที่หายไปได้ (Unrealized Loss) ครับ ว่าเราจะรับไหวมั๊ยนะ

ทีนี้ โดยสถิติแล้ว เรามักจะไม่ได้ลงทุนอยู่ที่จุด Peak สักเท่าไรอยู่แล้วครับ (ยกเว้นซวยจริงๆ 5555+ ซึ่งบางคน อาจจะเคยมีประสบการณ์)  นั่นแปลว่า  ค่า Drawdown ถ้าเราลงทุนจริงก็อาจจะน้อยกว่าค่านี้ฮะ  ดังนั้น การเห็นค่า Maximum Drawdown นั้นเหมือนกับการที่เราได้เห็น ค่าขาดทุนสูงสุดในอดีตของสินทรัพย์นี้ๆ แล้ว ว่าอยู่ในระดับที่เรายอมรับได้หรือไม่ นั่นเอง  ก็เลยมักจะถูกนำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยง ในการลงทุนครับ

แต่ !!! ทั้งหมดนี้ คือ การวัดค่าข้อมูลที่อยู่ในอดีตนะครับ  อนาคตไม่มีใครสามารถทำนายได้ชัดเจนอยู่แล้ว  อาจจะเกิด Drawdown ที่เป็นค่าที่ใหญ่กว่าค่าเดิมในอดีตก็ได้เช่นกัน ฉะนั้นการติดตามการลงทุนในสินทรัพย์ที่เราลงทุนอยู่นั้น ยังคงเป็นเรื่องสำคัญครับ

ภาพต่อมาครับ ภาพ chart ด้านล่างนี้ จะชี้ให้เห็นค่าอีกค่าหนึ่ง ที่เอาไว้ประเมินร่วมกันครับ  นั่นคือ Recovery Time นั่นเอง ซึ่งมันคือ จำนวนวันทั้งหมดที่ สินทรัพย์นั้นๆ เกิดค่า Drawdown แล้ว ต้องใช้ระยะเวลาทั้งหมดกี่วัน ถึงจะกลับมา เท่าทุน นั่นเอง

maxdur1
ภาพจาก https://www.mutualfundobserver.com/2014/08/recovery-time/

จากที่ผมเห็นข้อมูลมา  ก็มีหลายสินทรัพย์ที่ใช้ระยะเวลา ไม่กี่สิบวัน  บางสินทรัพย์ก็ใช้ระยะเวลา ไม่กี่ปี (หลายร้อยวัน) ถึงจะกลับมาคืนทุนเท่าเดิมนะครับ  ก็จะหลากหลายกันไป แล้วแต่ช่วงจังหวะ

อ่านถึงจุดนี้จะเข้าใจกันแล้วนะครับว่าค่า Drawdown เหล่านี้โดยส่วนตัวผมมองว่า เป็นค่าที่มีประโยชน์แก่การนำมาพิจารณาคัดเลือก สินทรัพย์เพื่อการลงทุนพอสมควรครับโดยมองในมุมของความเสี่ยงนะครับ ว่าเราจะรับ ค่าขาดทุนสูงสุด “ในอดีต” ของสินทรัพย์นั้นๆ ได้มากน้อยแค่ไหน  รับได้หรือไม่  เพราะเวลาเราเลือกลงทุนใดๆ นั้น แน่นอนว่า เราจะมองทั้ง Reward (ผลตอบแทน) และ Risk (ความเสี่ยง) เสมอๆ  ดังนั้นใน FIN App กองทุนรวม จึงมีข้อมูลเหล่านี้ให้ดูประกอบการพิจารณาด้วยเช่นกัน  โดยตัวอย่างหน้าจอจะเป็นดังภาพด้านล่างนี้ครับ

Download FIN App ได้จาก Apple App Store: https://apple.co/400dMWZ

IMG_9670

วิธีการใช้คือ กดเข้าดู Fund Profile ที่ต้องการ จากนั้นกดที่ Tab ที่เขียนว่า Chart ครับ  (ตามภาพด้านบน) ทีนี้ โดยปกติที่หน้า Chart ก็จะแสดง กราฟของ NAV ตามช่วงระยะเวลาย้อนหลังต่างๆ ตามที่ต้องการ  แต่ใน version ใหม่นี้ จะแสดงค่า Drawdown ได้ด้วย โดยการกดที่ปุ่ม DD ครับ  แล้วจะแสดง NAV พร้อมกับ แถบ Drawdown ต่างๆ ให้เห็นกันชัดๆ เลยครับ ว่า จุด Peak อยู่ที่วันไหน Valley วันไหน และ Recovery วันไหน ใช้ระยะเวลาเท่าไร อย่างชัดเจน

นอกเหนือไปจากนั้นก็จะแสดง Drawdown ย่อยอื่นๆ ด้วยครับ  ตาม List ด้านล่างของหน้าจอเลยฮะ เราก็จะเห็นจุด Drawdown อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Maximum Drawdown ไปด้วยเช่นกันฮะ เรียกได้ว่า มาครบครันเลยทีเดียว สำหรับ version ใหม่ นี้

ปิดท้ายบทความนี้ ด้วยเรื่องของ ค่าความเสี่ยง ตรงนี้อีกรอบนะครับ ว่า การขาดทุนใดๆ ถ้าต้องการแก้ไขกลับคืนให้มาอยู่จุดเดิม ถ้ายิ่งขาดทุนมาก เราต้องลุ้นกันตัวโก่งและเหนื่อยมากในการให้มันกลับมาเท่าทุน ดังนั้นแล้ว  ให้พึงระวังไว้เสมอนะครับ จากภาพด้านล่างนี้จะเห็นชัดครับ ว่ายิ่งปล่อยขาดทุนมาก จะต้องทำกลับคืนมาที่เท่าไรแค่ไหน นะครับ ลองดูฮะ

Losses
ภาพจาก https://cleonalira.co.uk/why-you-should-care-about-losses/

ยกตัวอย่างนะครับ เราลงทุนในสินทรัพย์ตัวหนึ่งที่ 100 บาทนะครับ จากนั้นเราปล่อยขาดทุนไป 50% มูลค่าเราจะเหลืออยู่ที่ 50 บาท ครับ  จากนั้น ณ จุดนั้นเอง การย้อนกลับไปที่ 100 บาท เพื่อให้ได้เท่าทุน   ณ จุดที่เรามีเหลืออยู่ 50 บาทนั้น เราต้องการอีก 50 บาท เพื่อให้กลับไปที่จุดเดิม   นั่นแปลว่า ณ จุดนั้นๆ เราต้องการ ให้มัน บวก (gain) ไปอีก 50 บาท คิดเป็น 100% จากจุด 50 บาท นั่นเอง   ซึ่ง มันไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ ที่จะทำให้เกิดแบบนั้นได้บ่อยๆ  ดังนั้นปิดท้าย คือ  ให้ระวังเรื่อง Risk Loss ดีๆ กันนะครับ นักลงทุน  เราควรจะรู้จุดหยุดของเราเหมือนกันฮะ

FIN App Terms of Service

– Updated: 25 May 2020 –

FIN เป็น Mobile Application ให้บริการข้อมูลและเครื่องมือในการติดตามข้อมูลผลการดำเนินงานของ กองทุนรวมภายในประเทศไทย รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านกองทุนรวมในมุมมองของผู้ใช้ โดยเป็น App ที่ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับคนจำนวนมากเพื่อให้สามารถติดตามผลการลงทุน ในกองทุนรวมได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใน version ปัจจุบันมี Terms of Service ดังนี้

ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ (Terms of Service) ระหว่าง FIN App (“FIN” หรือ “เรา”) กับ ท่านผู้ใช้ (“ท่าน”) กรุณาอ่านข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการโดยครบถ้วน เพื่อความเข้าใจตรงกันและเพื่อผลประโยชน์ของท่านเอง

1. FIN ขอสงวนสิทธิ์ที่จะแก้ไขข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยท่านสามารถดูข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ล่าสุดได้ภายใน Application เสมอที่เมนู More > User Agreement ซึ่งจะมี link ไปยัง Terms of Service ที่เป็น version ปัจจุบันล่าสุด ดังนั้นท่านจึงควรติดตามข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน FIN  นี้อยู่เสมอ

ทั้งนี้หากท่านไม่เห็นด้วยหรือประสงค์ที่จะปฏิเสธความมีผลผูกพันตามข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการใดๆ นี้ขอความกรุณาท่านยุติการใช้งาน FIN หรือหากต้องการแจ้งลบข้อมูล Personal Information ใดๆ ให้ทำตามวิธีการในข้อ Channel to Contact us ตาม Privacy Policy นี้

2. FIN ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่ยืนยันความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารต่างๆ ภายใน Application นี้ หากท่านต้องการยืนยันความถูกต้อง ให้ท่านตรวจสอบกับ บลจ. ที่ท่านใช้บริการอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจในการลงทุนทุกครั้ง  FIN จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ รวมถึง ความสูญเสีย การบาดเจ็บ และ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม โดยบังเอิญ หรือเป็นผลสืบเนื่องที่ตามมาจากการใช้งาน Application ทุกกรณี  แต่ทั้งหมดนี้ท่านสามารถเขียนและส่ง Feedback มาแจ้งแก่ทาง FIN เพื่อให้รับทราบและดำเนินการจัดการแก้ไขเท่าที่ทาง FIN จะทำได้ต่อไป

3. สำหรับท่านที่ต้องการใช้บริการ FIN Premium Services นั้นเป็นบริการประเภท Subscription แบบต่ออายุอัตโนมัติ (Auto-renewable subscription) มีทั้งหมด 3 รูปแบบ เลือกตามระยะเวลาการใช้งานได้แก่ 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยนับวันแบบวันชนวัน เช่นซื้อ FIN Premium Service แบบ 1 ปี โดยเริ่มซื้อวันที่ 17 July 2019 เวลา 5:18pm สามารถใช้ ได้ถึง 17 July 2020 เวลา 5:17pm เป็นต้น

– Subscription จะเริ่มต้นใช้งานได้ทันทีเมื่อท่านยืนยันคำสั่งซื้อ โดย Apple จะทำรายการชำระเงินผ่านทาง App Store ตาม iTunes Account ของท่าน

– การต่ออายุ Subscription ในรอบระยะเวลาถัดไปจะทำโดยอัตโมมัติ ผู้ใช้สามารถยกเลิกการต่ออายุอัตโนมัติได้โดยเข้าไปตั้งค่าใน iTunes Account Setting (หรือเข้าไป FIN App ที่หน้า More และเลือก เมนู Your Subscription จากนั้นกด Change Subscription) โดยหากต้องการยกเลิกการต่ออายุให้ทำก่อนที่จะถึงวันหมดอายุ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงขึ้นไป

4. หาก FIN มีการพัฒนา Feature ใหม่และขึ้นข้อความที่เกี่ยวกับการทดสอบ Feature ใหม่นั้น ทาง FIN ขอสงวนสิทธิ์ที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับ roadmap การพัฒนาในอนาคตของ Feature เหล่านี้ ซึ่งอาจจะพัฒนา Feature นี้ต่อ หรือ ยุติการพัฒนา Feature ดังกล่าวได้ตลอดเวลา รวมถึงการพิจารณานำ Feature ใหม่นั้นเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ FIN Premium Services ด้วยเช่นกัน

5. หากใช้ FIN แล้วเกิดคำถาม หรือต้องการแนะนำเรื่องใดๆ นั้น ให้ท่านกระทำผ่านช่องทางอย่างเป็นทางการดังนี้

5.1) ส่งอีเมลเข้ามาที่ support@fin.cool หรือ

5.2) เปิดใน FIN App แล้วเข้าไปที่ tab “Feedback” และ ส่งข้อความเข้ามาผ่านช่องทางนั้น หรือ

5.3) เข้าไปที่ Facebook Page ที่ URL:  https://www.facebook.com/fin.application/inbox/ และส่งข้อความผ่านช่องทางนั้น

โดยปกติ FIN จะตอบกลับอย่างรวดเร็วแบบ best effort ภายใน 3 ช่องทางข้างต้น  หากติดต่อกันด้วยช่องทางอื่นๆ อาจจะได้รับการตอบสนองช้าลงกว่าช่องทางปกติ

6. ในส่วนของการติดต่อผู้ใช้งาน โดยช่องทางปกติ FIN จะติดต่อกับผู้ใช้งานในกรณีของการ support การใช้งาน หรือ แจ้งข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ FIN App ผ่านทางอีเมลที่ท่านได้กรอกไว้ ตอนที่ลงทะเบียนสร้างบัญชี FIN Account  แต่ในบางกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดทาง Email Address ที่ทำให้ไม่สามารถติดต่อสื่อสารผ่านทางช่องทางนั้นได้  ทาง FIN ขอสงวนสิทธิ์ที่จะส่งข้อความเฉพาะแบบ Push Notification ถึงผู้ใช้รายนั้นๆ โดยเฉพาะ และถ้าหากผู้ใช้ไม่ได้อนุญาตให้ FIN ส่งข้อความ Push Notification ไปที่เครื่องได้ การติดต่อสื่อสารจากทาง FIN ไปหาผู้ใช้จะไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ท่านคงต้องติดต่อกลับมาหา FIN อีกครั้งผ่านทางช่องทางในข้อ 5

7. ภายใน FIN จะมีความสามารถส่งข้อความแจ้งเตือน Push Notification หาท่าน ทุกวันทำการ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับ กองทุนรวม ที่ท่านสนใจใน Watchlist หรือ บันทึกไว้ใน Portfolio เนื่องจากระบบการส่งข้อความแจ้งเตือนในลักษณะนี้จะไม่มีการรับประกันผลการส่งข้อความ ดังนั้นแล้ว จะดำเนินการไปในลักษณะ Best effort ทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่ในบางเงื่อนไข บางกรณี ท่านอาจจะไม่ได้รับข้อความแจ้งเตือนเหล่านั้น โอกาสเกิดเคสลักษณะนี้มีไม่มาก แต่ถ้าเกิดขึ้นขอให้ท่านเข้าใจในจุดนี้

หากท่านไม่ต้องการรับข้อความแจ้งเตือนใดๆ ท่านสามารถปิดการรับข้อความแจ้งเตือนใดๆ ได้ด้วยตนเองผ่านทางหน้าจอ iOS Setting > Notifications > FIN  แล้วกดปิด Allow Notifications

สำหรับนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) ของ Application นี้ต่อท่าน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Link