และ FIN ใหม่นั้น รองรับ iPadOS แบบ Multiple Windows ได้ด้วยนะครับ (เปิด FIN พร้อมกัน มากกว่า 1 หน้าจอใน iPad OS splitview) ดู demo ได้จาก video นี้ครับ
ใน FIN version 4.0 เราสามารถเลือกดู Transaction ที่บันทึกได้ 3 แบบ คือ แบบปกติ ตามรูปด้านบนจะขึ้นทุก transaction ที่บันทึกเข้าไป และ ยังสามารถเลือกดูแบบ Group by Lot หรือ by Year ได้ ซึ่งจริงๆ ก็ทำได้มานานแล้ว แต่ FIN version 4.0 นั้น จะเห็นรายละเอียดมากขึ้น ตามรูปด้านล่างนี้
คือจะเห็น Lot 1 และ Lot 2 พร้อมกับ แท่งสีเขียว เพื่อให้เห็น ปริมาณหน่วยที่เหลืออยู่ใน Lot นั้นๆ นั่นเอง ทีนี้เริ่มบันทึก Sell Transaction ครับ ของวันที่ 6 July 2021 จำนวน 8,000.00 บาท ตามภาพด้านล่าง
รูปถัดไปด้านล่างนี้ แสดงผลแบบ By Lot ของ FIFO จะเห็นว่า Lot 1 กลายเป็นสีเทา ขายหมดไปเรียบร้อย ดังนั้นต้นทุนเฉลี่ยของ FIFO ที่จะใช้คือ ใช้ของ Lot ที่เหลืออยู่ ในกรณีนี้คือ Lot 2 ซึ่งต้นทุนอยู่ที่ 20.8605 ค่าเฉลี่ยต้นทุนก็จะเป็นค่าเดียวกัน
มาลองดูแบบ WAVG บ้าง ตามรูปด้านล่างนี้ครับ ต้นทุนเฉลี่ย Avg Cost ก็ยังคงเป็นค่าเดิมคือ 20.8796 และหากดู Group by Lot แท่งสีเขียวนั้น ถึงแม้ว่าเราจะทำ Sell Transaction ไป 2 รอบแล้ว การขาย ก็คือ ขายเทียบกับทุก Lot เหมือนเดิม จะไม่มี Lot ใด Lot หนึ่งขายหมดก่อน เหมือนแบบ FIFO ทุก Lot จะขายไปพร้อมๆ กัน เฉือนออกในสัดส่วนที่พอๆ กัน นั่นเอง วิธีคิดต้นทุนเฉลี่ยยังคงเหมือนเดิมคือ เอา Remaining Cost ของทุก Lot มารวมกัน และ หารด้วยจำนวนหน่วย ดังนี้ (5,154.36 + 10,308.72) / 740.5819 = 20.8796
อ่านถึงจุดนี้ คงจะเห็นภาพอย่างชัดเจนของความแตกต่างระหว่าง การคิดต้นทุนทั้ง 2 วิธีนะครับ และ FIN version 4.0 ก็สามารถช่วยอธิบายให้เห็นภาพเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนภายใน app ตามที่อธิบายไปทั้งหมด นอกเหนือจากค่าต้นทุนเฉลี่ยที่จะคิดต่างกันแล้ว ค่า Realized Profit/Loss ก็จะออกมาแตกต่างกันเช่นกันนะครับ เพราะว่า การเทียบต้นทุนกับ Lot เก่านั้น ทั้ง 2 วิธีจะใช้คนละจุดเทียบกันนั่นเอง
ซึ่ง กระบวนการคิดต่างๆ เหล่านี้ ผมพัฒนาเข้าไปใน FIN version 4.0 เรียบร้อยแล้ว และมีการคิด Sub Period คือ อิงกับ NAV ทุกวันทำการของกองทุนรวมนั้นๆ (คือคิด Sub Period ทุกวันทำการ) แล้วนำมาคิด TWR จากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน โดยที่สามารถ plot ออกมาเป็น chart ต่างๆ ตามรูปด้านบน ซึ่งคุณผู้ใช้ สามารถใช้ได้อย่างสะดวกเลยครับ แค่กรอก transaction ต่างๆ ให้ครบถ้วน เดี๋ยว FIN version 4.0 จะคำนวณออกมาให้หมดครับ
และยังมีอีกหลายความสามารถที่ต่อยอดการคิดจากเรื่องนี้ครับ FIN สามารถคิด Total Return ได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับของแต่ละกองทุนที่บันทึกเข้าไป, ระดับของทั้ง Portfolio หรือ ระดับหลาย Portfolio รวมกัน (กำหนด portfolio ได้ว่าจะให้รวม portfolio ใดบ้าง) ทำให้เราเห็นภาพรวมของ Total Return ได้ครบในหลายๆ มิติ และยังนำมาใช้ในอีกหลายๆ ความสามารถของ FIN version 4.0
อ่านถึงจุดนี้แล้ว คุณสามารถโหลด FIN ได้บน Apple App Store https://apple.co/2HSKplH Version 4.0 นั้นรองรับ iOS, iPad OS 15 ขึ้นไป และรวมถึง macOS ที่ใช้ chip Apple Silicon M1, M2 ด้วยครับ คาดการณ์ว่าน่าจะเริ่ม update FIN version 4.0 ได้ตั้งแต่ วันพุธที่ 6 July 2022 เป็นต้นไป
ลองใช้ FIN ใหม่ดูครับ หากมีความคิดเห็นใดๆ สามารถเขียนมาในหน้า Feedback ใน FIN ได้เลยนะครับ ขอบคุณครับ
20 April 2021 — FIN Asset Planning เป็นความสามารถใหม่ของ FIN App กองทุนรวม ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของความสามารถใหม่นี้คือ FIN Virtual Portfolio (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดของ Virtual Portfolio กด link) เนื้อหาในบทความนี้จะเน้นที่วิธีใช้ FIN Asset Planning ครับ
เนื้อหา Introduction เกี่ยวกับ FIN Asset Planning อ่านได้จาก Link ด้านล่างนี้
ถึงจุดนี้ เราจะเห็นแล้วว่า Healthcare นั้น มีสัดส่วน 78.53% เมื่อเทียบกับ Total Asset Current Value ทั้งหมดที่เรากำลังนิยามไว้ใน Virtual Portfolio นี้นะครับ
ในแต่ละ Segment นั้น เราเลือกประเภทได้นะครับ ตรง Asset Type ว่า Segment นั้นจะใช้ข้อมูลจาก FIN Portfolio ซึ่งจัดเป็น Tracking Asset ตามปกติ หรือว่า เราอยากให้ Segment นี้เป็น Asset อื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจาก FIN Portfolio ก็ได้เช่นกัน โดยการกดเลือก Non-Tracking Asset ตามภาพด้านบน
โดยรวมการใช้งานก็จะประมาณนี้ หากมีคำถามใดๆ สามารถติดต่อมาได้ตามช่องทางปกตินะครับ ทั้ง Email และ Facebook สามารถดูช่องทางติดต่อได้ที่ FIN > หน้า More > Contact FIN
20 April 2021 — FIN มีแนวคิดของ Portfolio แบบใหม่ ที่ใช้งานร่วมกับ Portfolio แบบปกติ ซึ่งแนวคิดใหม่นั้น ผมเรียกว่า Virtual Portfolio เนื้อหาภายในบทความนี้ จะอธิบายถึงความสามารถ คุณลักษณะของ FIN Virtual Portfolio แบบกระชับครับ
ย้อนกลับไปในปี 2015 ที่ FIN App ขึ้น Apple App Store version แรกสุดนั้น FIN รองรับ 1 portfolio ที่ให้ผู้ใช้สามารถบันทึก transaction ต่างๆ ของกองทุนต่างๆ ของตนเอง เข้าไปภายใน FIN Portfolio เพื่อที่จะเห็น ภาพรวมทั้งหมดของตนเองได้ จากนั้น ก็เริ่มมีความต้องการ ที่เฉพาะมากขึ้น ที่ต้องการให้ FIN รองรับมากกว่า 1 portfolio ผมเลยพัฒนาออกมาให้รองรับการบันทึก transaction มากกว่า 1 portfolio เรียกว่า Multiple Portfolios
และแนวคิดใหม่ล่าสุดที่ break ข้อจำกัดเดิม ก็ออกมากับ FIN version 3.61 นั่นคือ FIN Virtual Portfolio นั่นเอง
วิธีอธิบายเรื่องนี้ได้ง่ายสุด น่าจะเป็นภาพ diagram แนวคิดนะครับ ภาพด้านล่างคือ FIN Multiple Portfolios ครับ
หากเคยใช้ FIN Multiple Portfolios อยู่แล้ว ก็จะรู้ลักษณะการทำงานอยู่แล้วครับ ว่า แต่ละ port นั้นแยกอิสระต่อกัน การบันทึกกองทุนเข้า port ใด port หนึ่งจะไม่มี impact ต่ออีก port นึง นี่คือคุณลักษณะปัจจุบันของ FIN Multiple Portfolios
หากผู้ใช้ upgrade FIN เป็น version 3.8 ล่าสุด จะเห็นหน้าจอของหน้า Fund Rank ตามรูปด้านล่าง ซึ่งจะมีปุ่มสีส้มอยู่ที่มุมด้านขวาด้านล่าง ปุ่มนี้เป็นความสามารถใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามา เพื่อช่วยทำเรื่อง Fund Compare ให้สะดวกขึ้นอย่างมาก
ถ้า scroll ลงมาด้านล่าง จะเห็นการเปรียบเทียบด้าน Absolute Return และ Max Drawdown (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Drawdown) รวมถึงสัดส่วนระหว่าง Absolute Return และ Max Drawdown ด้วยเช่นกัน (ที่เขียนเป็นตัวอักษรสีเหลืองว่า Return/MDD @ Timeframe ต่างๆ) ซึ่งจุดนี้ ขอย้ำนะครับ ว่า ผมสังเคราะห์ field ข้อมูลของการนำ Absolute Return มาหารกับ Max Drawdown (เอาค่า Max Drawdown แบบที่ไม่ใช่ค่าติดลบมาใช้นะครับ) ตรงนี้ เป็นแบบ simple math calculation เพื่ออำนวยความสะดวกในการเทียบเท่านั้นนะครับ มันจะไม่ใช่ Ratio ในกลุ่มที่เรียกว่า Risk Adjusted Return ดังนั้นแล้ว การนำข้อมูลนี้ไปใช้ตัดสินใจใดๆ นั้น ผมยังคงขอย้ำว่า ให้ตรวจสอบจากหลายๆ แหล่งข้อมูล ก่อนการตัดสินใจลงทุนใดๆ ผมสร้าง FIN มาเพื่อเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกเท่านั้น เรื่องความถูกต้องของข้อมูลใดๆ นั้น นักลงทุนยังคงต้อง พิจารณาไตร่ตรองอย่างระมัดระวังด้วยตนเอง ครับ ผมไม่สามารถรับประกันความถูกต้องของข้อมูลใดๆ ได้ นะฮะ ตามที่เขียนไว้ (อ้างอิงตาม FIN App Term of Service)
สุดท้ายครับ หน้า Fund Compare ตรงนี้ ผมมี Tip แนะนำอีกนิดนึงคือ กรณีที่ต้องการเปิดดูหน้า Fund Profile ของแต่ละกองทุนตรงนี้ ผู้ใช้สามารถใช้นิ้ว กดจิ้มค้างไว้ (หรือที่เรียกว่า Long press gesture) ตรงชื่อ กองทุนครับ ทั้งชื่อที่หัวตารางด้านบน หรือ ชื่อด้านล่าง ได้หมดนะฮะ แล้ว FIN จะเปิดหน้า Fund Profile ขึ้นมาแสดงผลให้ได้ครับ
หวังว่าความสามารถ Fund Compare นี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้นะครับ โดยความสามารถนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของ FIN Premium Service ด้วยเช่นกัน ถามว่าถ้าไม่มี Feature นี้ยังสามารถเปรียบเทียบได้หรือไม่ ก็ได้ครับ แต่ว่าคงต้องหากระดาษมาจดนะฮะ ซึ่งก็ไม่สะดวกเท่าไรนะครับและล่าช้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้วผมเลยใช้เวลาสร้างความสามารถ Fund Compare ในหลายมิติตรงนี้ขึ้นมาเพื่อ ลดเวลา ทำให้มันสะดวกต่อผู้ใช้ และน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ครับ 🙂